5.การติดตั้งเพลาและเฟือง(Shaft and Sprocket Installation)

 

 การติดตั้งเพลาและเฟือง(Shaft and Sprocket  Installation)

การติดตั้งเพลา(Shaft) และการจัดรูปเพลา(Shaft)ให้ถูกต้องมีความสำคัญมากต่อการทำงานของระบบสายพานลำเลียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการทำให้สายพานเดินได้ตรงแนว(Alignment) และถ้าการติดตั้งผิดไม่ได้ศูนย์จะทำให้สายพานวิ่งไม่เรียบหรือกระตุก

1.การติดตั้ง เพลา(Shaft) ให้ถูกต้องมีหลักปฏิบัติดังนี้

                     ดูภาพจาก Top View การติดตั้งเพลา(Shaft) ให้ได้ศูนย์เมื่อติดตั้งแล้ว ต้องตรวจสอบให้ระยะ AB=CD,และAD=BC

 

ภาพ Top View การติดตั้งเพลา(Shaft) ให้ได้ศูนย์

 

ดูภาพจาก Side View แกนเพลา(Shaft)ต้องอยู่ในแนวระนาบเสมอ ต้องให้ระยะ E=F ถึงจะทำให้สายพานวิ่งตรงแนว 

ภาพ Side View แกนเพลา(Shaft)ต้องอยู่ในแนวระนาบเสมอ

 

  1. การติดตั้ง เฟือง (Sprocket) มีหลักปฏิบัติดังนี้

จัดรูปเพื่อให้เฟือง (Sprocket) และสายพานมีความยืดหยุ่นอยู่เสมอสามารถขบ(Engage)และส่งผ่านแรงระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพขณะที่สายพานยืด-หดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิการ ต้องปฏิบัติดังนี้

ถ้ามีเฟือง (Sprocket) มีมากกว่า 2 ตัวให้ยึด (Fix) เฟือง (Sprocket) ตัวกลาง (Center) ให้แน่นทั้งเพลาขับ(Drive Shaft)  และ เพลาตาม (Idle Shaft)นอกนั้นให้ปล่อยเป็นอิสระ 

 

เฟืองตัวกลางยึดแน่น เฟืองที่เหลือทั้งสองข้างปล่อยอิสระ

 

การที่สายพานจะวิ่งตรงแนว ต้องยึดเฟือง(Sprocket)ตัวกลางที่เพลาขับ

และเพลาตามให้ตรงอยู่ในแนวเดียวกัน

 

สายพานจะวิ่งตรงแนวและวิ่งไม่กระโดด(Skip) ต้อง ยึดเฟือง(Sprocket) ที่เพลาขับและเพลาตามโดยต้องเรียงฟันของเฟืองแต่ละเฟืองให้ตรงแนว Mark เช่นกัน เฟืองแต่ละยี่ห้อจะมีจุดสังเกตตำแหน่ง Mark ฟันต่างๆกันไป

 

จุดสังเกตตำแหน่ง Mark ฟันของ Sprocketให้ตรงกัน

 

จุดสังเกตการเรียงฟันของ Sprocketให้ตรง Mark

  •  สำหรับเพลา(Shaft) ที่มีเฟือง (Sprocket) แค่ 2 ตัวให้ยึด (Fix) เฟืองขับทั้งสองตัว บนเพลาขับ (Drive Shaft)
  •  การยึดเฟืองทำได้หลายวิธีเช่น

2.1  Set screws and set collars การประกบเฟืองด้วยปลอก(Set Collar) และใช้สกรูยึดจะใช้กับเพลากลมที่มีKeyway

 

การยึดเพลากลมที่มีKeywayด้วยปลอกสำเร็จรูปและสกรู

 

2.2   Retainer rings For square shafts (no key-ways needed)การใช้แหวนโลหะ(Retainer Ring) ยึดจะใช้กับเพลาสี่เหลี่ยม

            a. การยึดเพลาสี่เหลี่ยมด้วยแหวนโลหะ(Retainer Ring)

 

 

            b.การยึด Sprocket บนเพลาสี่เหลี่ยมด้วยปลอกพลาสติกและสกรู

 

 

การยึด Sprocket บนเพลาสี่เหลี่ยมด้วยพลาสติกและสกรู

 

2.3   Retaining plate การใช้แผ่นโลหะและสกรูยึดกับเพลาเป็นวิธีที่ง่ายและราคาถูกใช้กับเพลาสี่เหลี่ยม

 

การยึด Sprocket บนเพลาสี่เหลี่ยมด้วยแผ่นโลหะและสกรู

 

3. เรื่องอื่นๆที่น่ารู้

  •    ปกติการติดตั้ง Sprocket ในสายพานทั่วไป จะล็อก Sprocket ตัวกลาง(Center) ทั้ง 2 ข้างด้วยLock Ring (หรืออุปกรณ์อย่างอื่นที่ทำหน้าที่คล้ายกัน) ไว้กับเพลาทั้งเพลาขับ(Drive Shaft) และเพลาตาม (Idle Shaft) เพื่อให้สายพานวิ่งเรียบตรงแนวไม่กระโดด การยึดเป็นการป้องกันSprocket ตัวหลักไม่ให้เคลื่อนที่ได้ในแนวราบขณะที่สายพานทำงาน Sprocket ควรมีอย่างน้อย 3 ตัวขึ้นไป Sprocket ทั้งด้านเพลาขับ (Drive Sprocket) และเพลาตาม (Idle Sprocket) ควรมีจำนวนเท่ากัน

 

 

ตัวล็อกเฟืองแบบ Retainer Ring

 

  •  เพื่อป้องกันฟันของ Sprocket กระโดด (skip) และสายพานเสียหาย ให้ปล่อย Sprocket ที่เหลือเคลื่อนที่บนเพลาได้อย่างอิสระในแนว     ราบ (Lateral) เพื่อให้ฟันของ Sprocket และรูของสายพานสามารถเลื่อนไป-มาได้ เพื่อรองรับการขยายตัวหรือหดตัวของสายพาน   เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
  •  เมื่อสายพานมี Drive Sprocket เพียง 2 ตัว ให้ยึด Sprocket ด้านที่อยู่ใกล้กับด้านมอเตอร์ขับด้วยรีเทนเนอร์ริง (Retainer Ring)
  •  กรณีที่สายพานมีหน้ากว้างมากๆ (เช่นมากกว่า 1.0 เมตร) หรือสายพานมีแรงดึงมากการ Start สายพานแบบทันทีทันใดหรือในสิ่ง   แวดล้อมที่อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงสูง กรณีเหล่านี้ จะทำให้เพลาเสียรูป (Deform) และแอ่นตัว(deflection) ไม่สามารถรักษาแนวตรง   ได้

 

สายพานที่กว้างมาก เพลาจะแอ่นตัวสูง

 

ติดตั้งแบริ่ง (Intermediate Bearing) ระหว่างแกนเพลาโดยต้องยึดกับโครงสร้างที่แข็งแรง  Intermediate Bearing จะเป็นฐาน(Support) ยึดเพลา ทำให้เพลาให้มี Span สั้นลง โมเมนต์ดัด(Flexural Moment)จะลดลง ลดการแอ่นตัว(Deflection) ของเพลาให้อยู่ในค่าที่ยอมรับได้

 

 

ติดตั้ง Intermediate Bearing ระหว่างแกนเพลา

 

 หากเพลาแอ่นตัวมากเกินไปทำให้การขบกันของสายพานและ Sprocket ไม่ลงตัว สายพานจะวิ่งกระตุกได้ แบริ่ง (Intermediate Bearing) ที่ ติดตั้งระหว่างเพลานี้ปกติจะใช้เป็น Split Bearing ซึ่งส่วนของตัวเรือนที่แยกนี้ ต้องติดตั้งในแนวตั้งฉากกับแนวทางการเคลื่อนที่ของสายพาน หรือติดตั้ง Sliding Sleeve ทำหน้าที่เช่นเดียวกันก็ได้

 

 

ติดตั้ง Sliding Sleeve ระหว่างแกนเพลาSliding Sleeve 

ทำด้วยวัสดุ Teflon หรือใช้ MCNYLON (Self Lubrication) หรือ POM

 

  •  ในบางกรณีเมื่อไม่ต้องการติดตั้งแบริ่งระหว่างกลางเพลา (Intermediate Bearing) ก็สามารถใช้ลูกกลิ้ง (Roller) ที่ทำด้วยท่อเหล็กได้   ทดแทนเพลาหน้าตัดรูปสี่เหลี่ยมได้ เพราะลูกกลิ้ง (Roller) มีStiffness สูงกว่า Stiffnessเพลาหน้าตัดรูปสี่เหลี่ยมมาก ดังนั้นจึงมีการแอ่น   ตัวน้อยกว่า เช่นท่อเหล็กขนาด 4 นิ้วและ 6 นิ้วจะมีค่า Stiffness สูงกว่า เพลาหน้าตัดรูปสี่เหลี่ยมขนาด 2.5 นิ้วและ 3.5 นิ้วกว่า 2 เท่า   เป็นต้น
  •  การจัด Sprocket กรณีConveyor  สองตัวจัดเรียงตั้งฉากกัน

 

การจัด Sprocket กรณีConveyor  สองตัวจัดเรียงตั้งฉากกัน

 

  •   การจัด Sprocket กรณีConveyor  สองตัวจัดเรียงในแนวเดียวกัน

 

การจัด Sprocket กรณีConveyor  สองตัวจัดเรียงในแนวเดียวกัน

 

4.สอบถามมาเลย...โดน

แกนหลักที่ให้ข้อมูลเป็นทีมงานวิศวกร ซึ่งจบมาจากหลายสถาบันเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทีมงานมีเบื้องหลังและประสบการณ์การทำงานด้านระบบสายพานลำเลียงทั้งระบบสายพานลำเลียงทั้งขนาดใหญ่(Heavy Duty)ที่และขนาดเบา(Light Duty) ร่วมกันเป็นทีมงานที่จะแบ่งปันความรู้กับท่านผู้อ่านผ่าน website นี้

   

ขอเน้นว่า D.N.A ทีมงานเป็นช่าง ไม่ใช่D.N.Aของนักขายอาชีพ ไม่มีความถนัดในการปิดงานขายเหมือน Sale อาชีพ เราจะลบสภาพที่ท่านคุ้นเคยนี้ออกไป โดยสร้างความเชื่อใจให้เป็นสิ่งแวดล้อมใหม่ด้วยการพยายามอย่างหนักที่จะช่วยเหลือผู้บริโภคอย่างจริงใจ บอกตรง พูดจริง ไม่รับปากซี้ซั๊ว เอาเฉพาะเรื่องวิทยาศาสตร์ พิสูจน์กันได้ รับข้อมูลไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องเชื่อเราทั้งหมด เก็บสมองด้านขวาไว้ในลิ้นชักชั่วคราว...ใช้สมองด้านซ้ายคำนวณด้วยเหตุ-ผลพิจารณาความเหมาะสมเอาเอง เลือกอุดหนุนกับใครหรือ Suppliers ใดๆได้ตามความคุ้มค่ากับเงิน(Value for Money) ที่จ่ายไปก็แล้วกัน

  

ลองถามมาเลยครับถ้าเป็นเรื่องสายพานลำเลียง (Conveyor Belt) ไม่ว่าจะเป็นสายพานยางดำ(Rubber Belt) สายพาน PVC BELT , PU BELT, สายพานพลาสติกโมดูลาร์ (Modular Belt) , สายพานท็อปเชน(Flat Top Chain) , สายพานกระพ้อ(Elevator Belt)  ยินดีแชร์กันทุกแง่มุม ตั้งแต่ การออกแบบ การผลิต การเลือก การเก็บรักษา การบำรุงรักษา การซ่อมแซม การต่อ การใช้งาน การ Modify  ปัญหาด้านเทคนิคApplication การใช้งานที่ไม่ปรกติ อะไรที่แปลกๆ ถามที่เราได้เลยครับ มีของเท่าไหร่ปล่อยหมด ไม่มีกั๊ก ไม่มีดึง ไม่มีเม้ม “บอกทุกสิ่งที่คนอื่นไม่อยากให้คุณรู้”สงสัยสิ่งใด ส่งรายละเอียดมาที่Line@cg1356 หรือ info@conveyorguide.co.th หรือ โทร 090-907-6077 , 02-992-1025 ยินดีที่เรามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาร่วมกันกับทุกท่าน......