6.TWO DIRECTIONAL Conveyors Designed Guide

TWO DIRECTIONAL Conveyors Designed Guide

(คำแนะนำการออกแบบสายพานวิ่งได้ 2ทิศทาง)

การออกแบบคอนเวเยอร์แบบวิ่งได้ 2 ทิศทางปรกติทำกัน 2 แบบคือ แบบ ดึง-ดึงๆ กับแบบ ผลัก-ดึงซึ่งแต่ละแบบก็จะมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบกันต่างกันไป

การวาง Layout โครงสร้างของคอนเวเยอร์วิ่งได้ 2 ทิศทางมี 2 รูปแบบคือ

1)    Pull-Pull Type (แบบดึง-ดึง) แบ่งได้ 3 ข้อย่อยคือ

A. Center Drive Design

  • Center Drive คือการวาง Reversible Motor เพียงตัวเดียวเป็นมอเตอร์ขับ โดยวางอยู่ที่ด้านล่างประมาณกึ่งกลางของคอนเวเยอร์
  • การวางตำแหน่งของ Motor ขับอยู่ด้านล่างทำให้เกิดแรงดึงทั้งสายพานด้านบนและสายพานด้านล่าง แรงดึงที่กระทำบนเพลาจะมากเป็น 2 เท่าของแรงดึงแบบการวางมอเตอร์ไว้ด้านบน ดังนั้นจึงต้องใช้แรงดึงค่านี้คำนวณหาขนาดของเพลาและจำนวนของเฟืองต้องใช้
  • ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลูกกลิ้ง(A)จะต้องใหญ่เพียงพอ 

 

 

Center Drive Bi-Directional Conveyors

 

 

Center Drive Bi-Directional Conveyors with Nose Bar

 

B. Two Motor Drive Design

  • การใช้มอเตอร์ 2 ตัวเป็นตัวขับมีข้อเสียเปรียบคือมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นเนื่องจากต้องใช้มอเตอร์ 2 ตัวรวมทั้งต้องมีระบบควบคุมและฮาร์ดแวร์ต่างๆเพิ่มขึ้นด้วย
  • ข้อได้เปรียบคือแรงดึงสายพานด้านล่าง(Return Belt)จะน้อยเหมาะสำหรับคอนเวเยอร์ที่ต้องการรับน้ำหนักมากๆ

C. Single Motor and Slave Drive Design

  • ใช้ Reversible มอเตอร์เพียงตัวเดียวเป็นตัวขับร่วมกับโซ่ (Roller Chain) ส่งกำลังเพื่อขับ Sprocket เป็นระบบที่มีแรงดึงน้อยแต่มีข้อเสียคือราคาแพงขึ้นเนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงจำนวนมากและสามารถใช้ได้กับสายพานเส้นสั้นๆเท่านั้นเนื่องจากข้อจำกัดของความยาวโซ่

 

2)  Push-Pull Type (แบบผลัก-ดึง)

 

Push-Pull Bi Direction Conveyor

 

การออกแบบคอนเวเยอร์แบบนี้จะต้องให้ความสนใจเรื่องแรงดึงของสายพานด้านล่าง(Return Belt Tension) การแอ่นตัวของเพลา(Shaft Deflection) และระยะห่างระหว่างเฟือง(Sprocket Spacing)

  •    เมื่อสายพานทำงานในโหมดดึง(Pull) การทำงานของสายพานก็จะเป็นปรกติเหมือนคอนเวเยอร์ที่ใช้งานทั่วไป
  •    เมื่อสายพานทำงานในโหมดผลัก(Push) เพลาขับ(Drive Shaft)จะเป็นตัวผลักน้ำหนักบรรทุกทั้งหมดบนสายพาน ขณะเดียวกันแรงดึงด้านสายพานด้านล่าง(Return Belt Tension) ก็จะน้อยทำให้สายพานด้านบนโค้ง(Buckle) เฟืองอาจจะ Slip หรือกระโดด(Jump) ได้โดยประสบการณ์ในการออกแบบสายพานรูปแบบนี้ต้องออกแบบให้สายพานด้านล่าง(Return Belt Tension)มีแรงดึงประมาณ 120เปอร์เซ็นต์ของแรงดึงสายพานด้านบน(Carry Belt Tension)

 

รู้จัก ในไลน์ ยังกล้าทัก ตัวเป็นๆน่ารัก รีบทักเลย

สอบถามมาเลย...โดน

แกนหลักที่ให้ข้อมูลเป็นทีมงานวิศวกร ซึ่งจบมาจากหลายสถาบันเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทีมงานมีเบื้องหลังและประสบการณ์การทำงานด้านระบบสายพานลำเลียงทั้งระบบสายพานลำเลียงทั้งขนาดใหญ่(Heavy Duty)ที่และขนาดเบา(Light Duty) ร่วมกันเป็นทีมงานที่จะแบ่งปันความรู้กับท่านผู้อ่านผ่าน website นี้

 

 

ขอเน้นว่า D.N.A ทีมงานเป็นช่าง ไม่ใช่D.N.Aของนักขายอาชีพ ไม่มีความถนัดในการปิดงานขายเหมือน Sale อาชีพ เราจะลบสภาพที่ท่านคุ้นเคยนี้ออกไป โดยสร้างความเชื่อใจให้เป็นสิ่งแวดล้อมใหม่ด้วยการพยายามอย่างหนักที่จะช่วยเหลือผู้บริโภคอย่างจริงใจ บอกตรง พูดจริง ไม่รับปากซี้ซั๊ว เอาเฉพาะเรื่องวิทยาศาสตร์ พิสูจน์กันได้ รับข้อมูลไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องเชื่อเราทั้งหมด เก็บสมองด้านขวาไว้ในลิ้นชักชั่วคราว...ใช้สมองด้านซ้ายคำนวณด้วยเหตุ-ผลพิจารณาความเหมาะสมเอาเอง เลือกอุดหนุนกับใครหรือ Suppliers ใดๆได้ตามความคุ้มค่ากับเงิน(Value for Money) ที่จ่ายไปก็แล้วกัน

 

   ลองถามมาเลยครับถ้าเป็นเรื่องสายพานลำเลียง (Conveyor Belt) ไม่ว่าจะเป็นสายพานยางดำ(Rubber Belt) สายพาน PVC BELT , PU BELT, สายพานพลาสติกโมดูลาร์ (Modular Belt) , สายพานท็อปเชน(Flat Top Chain) , สายพานกระพ้อ(Elevator Belt)  ยินดีแชร์กันทุกแง่มุม ตั้งแต่ การออกแบบ การผลิต การเลือก การเก็บรักษา การบำรุงรักษา การซ่อมแซม การต่อ การใช้งาน การ Modify  ปัญหาด้านเทคนิคApplication การใช้งานที่ไม่ปรกติ อะไรที่แปลกๆ ถามที่เราได้เลยครับ มีของเท่าไหร่ปล่อยหมด ไม่มีกั๊ก ไม่มีดึง ไม่มีเม้ม “บอกทุกสิ่งที่คนอื่นไม่อยากให้คุณรู้”สงสัยสิ่งใด ส่งรายละเอียดมาที่Line@cg1356 หรือ info@conveyorguide.co.th หรือ โทร 090-907-6077 , 02-992-1025 ยินดีที่เรามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาร่วมกันกับทุกท่าน......

ทีมงานพร้อมให้บริการด้วยหัวใจ