3. Horizontal Conveyor Designed Guide (คำแนะนำการออกแบบสายพานวิ่งตรงในแนวราบ)

 

 

Horizontal Conveyor Designed Guide

(คำแนะนำการออกแบบสายพานวิ่งตรงในแนวราบ)

 

 A.การวาง Layout โครงสร้างของคอนเวเยอร์

การออกแบบ Layout โครงสร้างของคอนเวเยอร์ ขึ้นอยู่กับความยาว Center to Center ของ Conveyor เราสามารถแบ่ ความยาวของคอนเวเยอร์ออกเป็น 3 ขนาดคือ

1. คอนเวเยอร์ขนาดสั้น (short Conveyor) คือสายพานที่มีความยาว ขนาด center ถึง center ไม่เกิน 2 เมตร

 

  •  สายพานสั้นไม่จำเป็นจะต้องมี return support
  •  Screw take up มีไว้สำหรับการปรับระยะตกท้องช้างและปรับ Alignment ของสายพานเท่านั้นไม่ได้มีหน้าที่ปรับตั้งความตึงของสายพาน
 
 

 2. คอนเวเยอร์ขนาดยาวปานกลาง(Medium Conveyor) คือคอนเวเยอร์ที่มีความยาวอยู่ในช่วง 2 เมตรถึง 4 เมตร

  •  คอนเวเยอร์ขนาดยาวปานกลาง(Medium Conveyor) นี้ return support สามารถใช้Wear strip และSlider Baseก็ได้
  •  ระยะตกท้องช้าง(canary sag) ที่ติดตั้งอยู่ใกล้กับตัวขับ(Drive Sprocket) ก็มีระยะเพียงพอสำหรับเก็บความยาวของสายพานเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
 
 

3 คอนเวเยอร์ขนาดยาว(Long Conveyor) คือ Conveyor ที่มีความยาวมากกว่า 4 เมตรขึ้นไป

 

  •  สายพานประเภทนี้ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิมีผลต่อความยาวของสายพานมาก
  •  เมื่อ Conveyor มีความยาวมากขึ้นด้าน return support จึงต้องการตัวรองรับระหว่างกลาง มากกว่า 1 ช่วงขึ้นไปเพื่อให้ Conveyor มีระยะตกท้องช้างได้พอดีในแต่ละช่วง
  •  ความเร็วสำหรับคอนเวเยอร์ขนาดยาวที่แนะนำมีไว้ตามตารางข้างล่างดังนี้
  •  สำหรับ Conveyor ที่มีน้ำหนักบรรทุกมากอาจจำเป็นจะต้องมีตุ้มถ่วง(Gravity Take Up) ที่จะทำให้Sprocketและสายพานขบกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 Belt type 0.3”หมายถึงสายพานที่มี Pitch ขนาด 3”

 

B. การวางตำแหน่งมอเตอร์สำหรับขับสายพาน

ไม่ว่าจะวางตำแหน่งมอเตอร์ขับสายพานอยู่ที่ตำแหน่งใด มีหลักการว่า จะต้องทำให้มุมโอบของสายพานมีค่าตั้งแต่ 180 องศาขึ้นไปการวางตำแหน่งมอเตอร์ขับสายพาน มีหลายอย่างดังนี้

1. ติดตั้งมอเตอร์ขับข้างบนที่ปลายจุดปลาย Conveyor  ในตำแหน่งปล่อยวัสดุ โดยให้มีค่าระยะตกท้องช้างอยู่ในค่าที่กำหนดไว้ (ตามรูปบน)

 

2. ติดตั้งมอเตอร์ขับไว้ด้านข้างล่าง กรณีที่ต้องการให้จุดเชื่อมต่อมีระยะห่างกันน้อย โดยใช้ลูกกลิ้งขนาดเล็ก(วัสดุอย่างอื่นก็ได้) ที่จุด Transfer ทำเป็น notebar 

 

 

3. เมื่อติดตั้งมอเตอร์ขับสองตัวที่ปลายทั้ง 2 ข้างของ Conveyor เพื่อใช้สำหรับการทำงานของ Conveyor 2 ทิศทาง เวลาใช้งานให้ใช้มอเตอร์ตัวเดียวในการขับ อีกตัวไม่ต้องทำงาน ระยะตกท้องช้างสามารถมีเผื่อไว้ได้ 2 ตำแหน่งใกล้มอเตอร์ขับ

 

4. ติดตั้งมอเตอร์ขับตรงกลางของคอนเวเยอร์ด้านล่าง การวาง layout แบบนี้ใช้งานได้ดีกับสายพานวิ่ง 2ทาง ในกรณีที่สายพานมีแรงดึงมากหรือ Conveyor ที่มีน้ำหนักบรรทุกมากอาจจำเป็นจะต้องมีตุ้มถ่วง(Gravity Take Up) ที่จะทำให้Sprocketและสายพานขบกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

C.ระยะที่สำคัญใน Conveyor Layout 

Conveyor ขนาดสั้นมีระยะ center to Center น้อยกว่า 2.0 เมตร

 

 

Conveyor ขนาดยาวปานกลางมีรระยะ center to Center มากกว่า 2.0-4.0 เมตร

 

 

Conveyor ที่มี Slider bed ติดตั้งในด้าน return

 

A คือระยะตกท้องช้างมีค่าระหว่าง 1 นิ้วถึง 4 นิ้ว (25.4 mm-102 mm )

B คือระยะห่างระหว่าง roller และ Drive Sprocket มีระยะระหว่าง 9 นิ้วถึง 18 นิ้ว (0.23 เมตรถึง 0.4 6 เมตร) เพื่อให้สายพานมีมุมโอบอยู่ในช่วง 180 องศาถึง 210 องศา

C คือระยะห่างระหว่างลูกกลิ้งรองรับด้านล่าง (Return) ควรมีระยะห่างระหว่าง 36 ถึง 48 นิ้ว

D คือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลูกกลิ้งรองรับด้านล่าง (Return)

  •  ขนาดเล็กที่สุด ใช้ลูกกลิ้งขนาด 2 นิ้วสำหรับสายพานที่มี Pitch 1 นิ้ว
  •  ขนาดเล็กที่สุด ใช้ลูกกลิ้งขนาด 4 นิ้วสำหรับสายพานที่มี Pitch 1มากกว่า 1 นิ้ว

E คือระระจากเส้นผ่าศูนย์กลางของ Drive Sprocket ถึงจุดเริ่มต้นของ Slider Bed สามารถติดตั้งร่วมกับroller ได้

  •  สำหรับConveyor ที่ยาวน้อยกว่า 3.6 เมตร Slider Bed จะต้องติดตั้งอย่างน้อย 24 นิ้วหรือ 60 เซนติเมตรห่างจากเส้นผ่าศูนย์กลางของ Drive Sprocket
  •  สำหรับคอนเวเยอร์ที่มากน้อยกว่า 3.6 เมตร Slider Bed จะต้องติดตั้งอย่างน้อย 36-48 นิ้วห่างจากเส้นผ่าศูนย์กลางของ Drive Sprocket

C.Garvity tak up Layout (รูปแบบการวางตุ้มถ่วงแบบใช้แรงโน้มถ่วง)

ในบางกรณีที่คอนเวเยอร์ต้องรับน้ำหนักบรรทุกมากทำให้สายพานมีแรงดึงสูงระยะตกท้องช้างไม่สามารถที่จะคงความตึงของสายพานได้เพียงพอที่จะป้องกันไม่ให้สายพานสลิปจากโต๊ะ 7 ดังนั้นจึงจะต้องจำเป็นติดตั้งเทปลับพิเศษเพิ่มเติมดังนี้ gravity take up หรือตุ้มถ่วงแบบใช้แรงโน้มถ่วงของโลก gravity take up เป็นการปรับความตึงของสายพานที่ได้ผลดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อติดตั้งในด้านสายพานกลับใกล้กับตัวclub โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาดังนี้

1 คอนเวเยอร์ที่มีความยาวมากกว่า 23 เมตร

2 ติดตั้งในคอนเวเยอร์ที่มีความยาวมากกว่า 15 เมตรและมีความเร็วมากกว่า 30 เมตรต่อนาที 

3 คอนเวเยอร์ที่ทำงานอยู่ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างสูง

4 คอนเวเยอร์ที่มีความเร็วมากกว่า 15 เมตรต่อนาทีและน้ำหนักบรรทุกมากกว่า 120 กิโลกรัมต่อเมตรตารางเมตรและมีการเปิดปิดคอนเวเยอบ่อยๆ

  •  สำหรับสายพานที่มีพิษ 1 นิ้ว ใช้ลูกกลิ้งที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้วและมีน้ำหนัก 15 กิโลต่อเมตรน้ำหน้ากว้างของสายพาน
  •  สำหรับสายพานที่มีพิษ 2 นิ้วใช้ลูกกลิ้งที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้วและมีน้ำหนักห้อย 30 กิโลต่อเมตรตามหน้ากว้างของสายพาน

 

Conveyor ขนาดสั้นมีรระยะ center to Center น้อยกว่า 2.0 เมตร

 

 

Conveyor ขนาดยาวมีรระยะ center to Center มากกว่า 4.0 เมตร

 

ระยะต่างๆในคอนเวเยอร์สั้นเพื่อที่จะทำให้มีแรงตึงในด้านสายพานกับเพียงพอระยะต่างๆในคอนเวเยอร์ยาวที่จะทำให้สายพานด้านกลับมีแรงตึงที่เพียงพอคือ

  •  ลูกกลิ้งที่รับน้ำหนัก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้วสำหรับสายพานที่มีพิษ 0.5 นิ้ว
  •  มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้วสำหรับสายพานที่มีพิษ 0.6 นิ้วถึง 1 นิ้ว
  •  มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 6 นิ้วสำหรับสายพานที่มีพิษขนาด 2 นิ้ว
  •  เท่ากับระยะที่จะทำให้ มากกว่าระยะเอบวกดีซี
  •  คือระยะที่มีความยาวมากกว่า 3 เท่าของพิษของสายพาน
  •  ดี คือระยะ เท่ากับหรือมากกว่าระยะของเอเท่ากับตัวครับ

 

 

 

 

 

8.ไม่รู้จัก ในไลน์ ยังกล้าทัก ตัวเป็นๆน่ารัก รีบทักเลย

ทีมงานพร้อมให้บริการด้วยหัวใจ

สุดท้าย บริษัท  คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด(Conveyor Guide Co.Ltd.) ขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านที่ให้กำลังใจติดตามอ่านผลงานและสนับสนุนสินค้าของเรา เราสัญญาว่า จะนำเสนอเรื่องราวดีๆมีประโยชน์มาให้ท่านได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เราจะตอบสนองท่านอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่หยุดนิ่ง เราไม่เคยทำงานลวกๆ หรือลดระดับการปฏิบัติงานตนเอง เราทราบวิธีและมีความสามารถ ที่จะสร้างสร้างความ เรียบง่ายบนซับซ้อนอยากใช้เราก็ติดต่อเราครับ ง่ายนิดเดียว สงสัยสิ่งใด ส่งรายละเอียดทั้งหมดมาทาง E-mail จะสะดวกดีมากครับ อยากรู้อะไรเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วน โทรศัพท์มาสอบถามรายละเอียด ไม่รู้จักในไลน์ ยังกล้าทัก ตัวเป็นๆน่ารัก รีบทักเลย เรายินดีให้คำปรึกษาตลอดเวลา หรือต้องการให้เราไปอบรมหรือจัดสัมมนาให้หน่วยงานบำรุงรักษาในหน่อยงานของท่านก็ได้ (มีค่าบริการนะครับ) ไม่เพียงแต่เรื่องนี้เท่านั้นนะครับ เรื่องอะไรก็ได้ที่ท่านอยากรู้เกี่ยวกับสายพานลำเลียงก็ลองติดต่อเข้ามาได้อะไรที่แบ่งๆกันได้และไม่เปลืองทรัพยากรจนเกินไปก็ยินดีรับใช้ฟรีครับ เพราะเรามี Motto การทำงานคือ ’'Together We Share ไปด้วยกัน...เผื่อแผ่กัน...แลกเปลี่ยน...เรียนรู้ ร่วมกัน’’ ครับ เราจะหาความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบลำเลียงมานำเสนออย่างสม่ำเสมอ “มีของเท่าไหร่ก็ปล่อยหมด ไม่มี กั๊ก ไม่มีดึง ไม่มีเม้ม” “ถึงแม้ว่าเราจะเดินช้า...แต่เราก็ไม่เคยหยุดเดิน” แล้วพบกันใหม่ครับขอบคุณที่ติดตาม

Website

www.conveyorguide.co.th

Email

Info@conveyorguide.co.th