Modular Belt Conveyor มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

ModularBelt Conveyor มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

          เราได้กล่าวไปแล้วว่า Modular Belt คืออะไร ครั้งนี้เราจะมาพูดถึงส่วนประกอบต่างๆ และการออกแบบ Modular Belt Conveyor เพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งานของทุกท่าน โดยทางบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด จะทำหน้าที่เป็นตัวช่วยในการเลือก และให้ข้อมูลในเรื่องของการออกแบบระบบสายพานลำเลียง Modular (ModularBelt Conveyor) แต่หากท่านใดยังมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเราได้เลยครับ เรามีความยินดีอย่างยิ่งที่จะให้คำปรึกษา ทั้งในเรื่องของอุปกรณ์ Application การออกแบบ สรุปง่ายๆ ว่า อยากได้อะไรก็ให้ขอมา ถ้าหาได้ทันที ส่งให้ทันใจ ถ้ายังหาไม่ได้หรือไม่รู้ก็ขอติดไว้ก่อน หาได้เมื่อไหร่ส่งให้ทันทีเหมือนกัน

2.1   ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ของระบบสายพาน Modular

          ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับชิ้นส่วนและอุปกรณ์ของระบบสายพานลำเลียง Modular                                                                                (Modular Belt Conveyor) กันก่อน ว่ามีส่วนประกอบหลักๆ อะไรบ้าง                                                                                                ที่เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ประกอบให้ระบบทำงานได้มีด้วยกัน 3 ประเภทดังนี้

                                                                                - โครงสร้าง (Conveyor Structure)

                                                                                - ระบบขับเคลื่อน (Drive Unit)

                                                                                - อุปกรณ์และชิ้นส่วนอื่นๆ (Other Component)

 

ภาพที่ 2.1 แสดงลักษณะโครงสร้างและอุปกรณ์ Modular Belt


2.1.1 โครงสร้าง (Conveyor Structure)

          โครงสร้างของสายพานลำเลียง Modular สามารถเป็นได้ทั้งโครงสร้างเหล็ก และโครงสร้าง Stainless ขึ้นอยู่กับประเภทอุตสาหกรรม และความต้องการของผู้ใช้งาน โดยส่วนใหญ่แล้วโครงสร้างที่เป็น Stainless จะใช้ในอุตสาหกรรมประเภทอาหาร และยา

ฐานรองรับสายพาน Wear Strip เป็นตัวรองรับน้ำหนักทั้งหมดของระบบ (น้ำหนักของสายพาน และน้ำหนักของวัสดุลำเลียง) ส่วนของโครงสร้าง (Conveyor Structure) นั้นท่านสามารถทำเองได้ไม่ยาก เนื่องจากไม่มีความซับซ้อน สามารถตัด เจาะ เชื่อมได้เอง ถ้าท่านเคยออกแบบและติดตั้งสายพานลำเลียงแบบ Mini Conveyor หรือสายพานลำเลียง PVC มาก่อน “สายพานลำเลียง Modular ทำง่ายกว่าเยอะ”

 

สายพานลำเลียง PVC หรือ Mini Conveyor

 

     

สายพานลำเลียง Modular แบบตรงและแบบโค้ง

 

          โดยโครงสร้างระบบสายพาน Modular นั้น สามารถทำได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน

 

โครงสร้างระบบสายพาน Modular แบบตรง (Straight)

 

2.1.2 ระบบขับเคลื่อน (Drive Unit)

          ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์และเกียร์ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป


2.1.3 อุปกรณ์และชิ้นส่วนอื่นๆ (Other Component)

 

สายพาน Modular

 

                    

Wear Strip                                                       Sprocket

 

          ทั้ง 3 ส่วนนี้เป็นอุปกรณ์สำเร็จรูปมาจากโรงงานสามารถประกอบขึ้นรูปได้เลย (ท่านใดสนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด) สิ่งที่ท่านต้องทำคือ Shaft สี่เหลี่ยม ซึ่งสามรถซื้อสำเร็จรูป โดยขนาดของ Shaft ต้องเท่ากับขนาดของรู Sprocketเพื่อให้เข้าล็อกกับ Sprocket พอดี แล้วกลึงปลาย Shaft ให้กลมให้พอดีสวมเข้ากับรูของมอเตอร์


2.2 ขั้นตอนการทำและประกอบระบบสายพาน Modular

          เมื่อเราเตรียมอุปกรณ์พร้อมแล้ว เราก็จะมาทำการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยท่านต้องเลือกวัสดุ Modular รูปแบบสายพาน และโครงสร้างให้เหมาะสมกับงานของท่าน ซึ่ง Layout ของระบบสายพาน Modular ก็มีให้ท่าเลือกใช้งานได้หลายแบบด้วยกัน

          2.2.1 Layout ระบบสายพาน Modular แบบตรง (Straight)

       

 

          2.2.2 Layout ระบบสายพาน Modular แบบเอียง (Incline)

      

         

          2.2.3 Layout ระบบสายพาน Modular แบบ Z-type

      

 

          2.2.4 Layout ระบบสายพาน Modular แบบโค้ง (Curve)

      

          เมื่อท่านได้ Layout และรายละเอียดต่างๆ ของสายพานเรียบร้อย ท่านสามารถปรึกษาบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด เพื่อให้ช่วยจัดเตรียมสินค้าและอุปกรณ์ตามความต้องการเพื่อส่งมอบให้ท่าน ซึ่งถ้าท่านสนใจในสินค้าและบริการของเรา เราพร้อมให้แบบ Guide Design ของระบบสายพานของแต่ละ Layout กับท่าน ตามโครงสร้างระยะต่างๆ ที่เราให้ไป

 

ความเร็วที่แนะนำของสายพาน Modular

 

 

Length

Max. Speed

Up to 15 m (45 ft)

50 m/min (150 ft/min)

15 – 25 m (45 – 75 ft)

30 m/min (90 ft/min)  

Over 25 m (75 ft)

15m/min (45 ft/min)

 

2.2 Wear Strip วางแบบตรง กับวางแบบเฉียงก้างปลา

 

สายพานลำเลียงระยะทางสั้น (Short distance conveyor)

 

          สายพานลำเลียงระยะสั้น (Short distance conveyor) ไม่จำเป็นต้องใช้ Return-Stork รองรับ แต่ความลึก(ระยะตกท้องช้าง) ของสายพานลำเลียงต้องมีค่า Sg  100 mm

 

แถบสึกหรอด้านบน / ด้านล่าง (Top/Bottom wear strips)

 

          การติดแถบสึกหรอแบบ Top/Bottom wear strips ตามภาพจะใช้สำหรับสายพานลำเลียงที่มีความยาวน้อยกว่า 3.5 m ระยะห่างต่ำสุดระหว่างลูกกลิ้งไดร์ฟและแถบสึกหรอ Dp<250 mm สำหรับสายพานลำเลียงที่มีความยาวมากกว่า 3.5 m ระยะห่างต่ำสุดระหว่างลูกกลิ้งไดร์ฟและแถบสึกหรอ Dp<600 mm

 

แถบสึกหรอด้านบน / ลูกกลิ้งด้านล่าง (Top wear strips / Bottom roller)

 

          ระยะห่างภายใน   ระหว่างศูนย์กลางเพลาขับและลูกกลิ้ง Return ลูกแรก ไม่ควรเกิน 600 mm และ ระยะ  กับลูกกลิ้ง (Roller) ไม่ควรเกิน 1000 mm Sg  100

 

สายพานลำเลียงแบบ 2 ทิศทาง (Central driving under bi-directional conveyor)

 

ระยะต่ำสุด  ระหว่างศูนย์กลางเพลาขับและลูกกลิ้งรองรับไม่ควรเกิน 600 mm และระยะ   ระหว่างลูกกลิ้ง (Roller) ไม่ควรเกิน 800 mm

 

      สุดท้าย บริษัท  คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด (Conveyor Guide Co.Ltd.) ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่ให้กำลังใจติดตามอ่านผลงานและสนับสนุนสินค้าของเรา หากท่านใดมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเราได้ตามช่องทางติดต่อด้านล่าง เรายินดีให้คำปรึกษาตลอดเวลา หรือต้องการให้เราไปอบรมหรือจัดสัมมนาให้หน่วยงานบำรุงรักษาในหน่วยงานของท่านก็ได้ (มีค่าบริการนะครับ) ไม่เพียงแต่เรื่องนี้เท่านั้นนะครับ เรื่องอะไรก็ได้ที่ท่านอยากรู้เกี่ยวกับสายพานลำเลียงก็ลองติดต่อเข้ามาได้อะไรที่แบ่งๆ กันได้และหากไม่เปลืองทรัพยากรจนเกินไปก็ยินดีรับใช้ฟรีครับ เพราะเรามี Motto การทำงานคือ ‘’Together We Share ไปด้วยกัน...เผื่อแผ่กัน’’ ครับ “มีของเท่าไหร่ก็ปล่อยหมด ไม่มี กั๊ก ไม่มีดึงเกมส์  ไม่มีเม้ม” “ความรู้เป็นทรัพย์ที่สะสมในสมองของคุณ ต้องสะสมไว้ก่อน จึงจะสามารถหยิบออกมาใช้ได้..” ติดตามเราเรื่อยๆครับเราจะหาความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบลำเลียงมานำเสนออย่างสม่ำเสมอ “ถึงแม้ว่าเราจะเดินช้า...แต่เราก็ไม่เคยหยุดเดิน” แล้วพบกันใหม่ครับขอบคุณที่ติดตาม

 

สามารถติดต่อ

โทรศัพท์ : 02-992-1025, 090-9076077, 083-1318644

โทรสาร : 02-992-1022

Email : Info@conveyorguide.co.th

Website : www.conveyorguide.co.th

Line : @cg1356

 

 


  • 1.jpg
    Modular Beltคืออะไร บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด มีความต้องการให้บทความนี้ เป็นบทความที่ให้ความรู้ และเป็นทางเลือกใหม่ สำหรับแก่ทุกท่านที่ประสบกับปัญหาสายพาน Slip และ Slide บำรุงรั...

  • สวัสดีครับทุกท่านวันนี้เราจะพาทุกท่านไปรับชมคลิปVDO แนะนำข้อดีของสายพานGeneration ใหม่ นั่นคือสายพานModular สายพานพลาสติกที่มีคุณสมบัติทนทาน แข็งแรง คุ้มค่า สามารถติดตั้งได้อย่างรว...

  • สวัสดีครับวันนี้ทางConveyor Guide จะมานำเสนองานในรูปแบบแปลกๆใหม่ๆ ของสายพานโมดูล่า ซึ่งปกติแล้วแฟนคลับของชาวคอนเวเยอร์ไกด์ก็คงจะมีการรับรู้ได้แค่ว่าสายพานโมดูล่าเป็นสายพานที่ใช้กั...

  • สวัสดีครับ วันนี้Conveyor Guideจะมาคุยเรื่อง การออกแบบระบบสายพานลำเลียงStyleใหม่!ซึ่งในแวดวงอุตสาหกรรมคอนเวเยอร์ ผู้ผลิตก็มี รูปแบบผลิตภัณฑ์ของตนเอง ที่แตกต่างกันไป เพื่อดึงดูดความ...

  • tax-05.jpg
    หาดูข้อมูลรายละเอียดการคำนวณแบบเต็มๆ ได้ในบทความข้างล่างนะครับการคำนวณหาค่ากำลังขับมอเตอร์ในงานสายพานลำเลียงฉบับย่อๆง่ายๆ เอามาฝากพี่น้องเราเก็บไว้ใช้กัน ได้เจอได้ใช้ในการประกอบสัม...

  • 1416581005-cats-o.jpg
    การออกแบบสายพานโมดูล่าร์ มีดังนี้

  • สายพานพลาสติก Modular Belt ความเป็นมาของสายพานพลาสติก Modular Belt ประมาณ 40 ปีที่แล้วสายพาน Modular Belt ได้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมลำเลียงอาหารเพราะระบบสายพานแบบเ...

  • 141.jpg
    ทางเลือกใหม่กับสายพานโมดูล่าร์ 1.สายพานโมดูล่าร์คืออะไร Øผลิตจากการใช้แม่พิมพ์ฉีดแบบ inject mold แล้วฉีดพลาสติกออกมาเป็นชิ้นๆประกอบกันด้วยแท่งพลาสติกหรือ stand less Øใช้ในอุตสาหกรร...

  • ปัจจุบันหากจะกล่าวถึงสายพาน“Modular Belt”และ“Top Chain”ในภาคอุตสาหกรรมลำเลียงในประเทศไทยก็มีใช้งานกันอยู่ในระยะหนึ่งแล้ว เช่น ในอุตสาหกรรมลำเลียงขวด อาหาร ยานยนต์ ผลไม้ กล่องกระด...

  • ประกอบ Modular belt_Page_1.jpg

  • Modular 502A-HD-03.jpg
    Material of Modular Belt สายพานModular Beltเป็นสายพานที่ผลิตขึ้นมาจากPlasticซึ่งก็จะมีหลักๆอยู่4ชนิดด้วยกันคือ PP (Polypropylene) PE (Polyethylene) POM (Polyoxymethylen/Polyformal...

  • Modular 200-26.jpg
    สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) กับไลน์การผลิตชิ้นงานยางพารา บทนำ มีคำถามมากมายว่าสายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) ใช้ในอุตสาหกรรมอะไรได้บ้าง? คำตอบคือ สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt)...

  • 5 - Copy.jpg
    Modular Belt Surface Type สายพานModular Beltถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานกับการลำเลียงวัสดุได้หลายหลายชนิด โดยขึ้นอยู่กับ วัสดุในการลำเลียง ลักษณะการใช้งาน มุมเอียงของการลำเลียง...

  • Modular 200-18.jpg
    จากบทความในตอนที่แล้วคงได้ทราบกันดีแล้วว่าสายพานModularมีผิวหน้า (Surface) รูปแบบใดกันแล้วบางฉบับนี้Conveyor Guideจะขอแนะนำว่าSurfaceแบบไหนลำเลียงอะไรได้บางหรื...

  • Modular 2000-17.jpg
    สร้างระบบสายพานง่ายๆกับสายพานโมดูล่าร์ Conveyor Guide Co.Ltd.ช่วยอะไรท่านได้บ้างเกี่ยวกับสายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt)อย่างแรกเลยคือ การให้ความรู้ทั่วๆไปสำหรับท่านมือใหม่ เพื่...

  • dc motors components.JPG

  • 2c73bbfd-8c83-4f2d-a97e-4afe1736b933.jpg
    ลูกค้าได้ติดต่อเข้ามาปรึกษาเรื่องสายพานลำเลียงกระป๋องมีปัญหา เนื่องจากพบปัญหาสายพานกระโดดเฟือง(Sprocket) กระป๋องเกิยกัน ทำให้แม่เหล็กจับยาก การเรียงตัวกันของกระป๋องไม่เป็นระเบีย...

  • NO. (3).jpg
    เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงานของสายพานขณะนั้น มีอุณหภูมิที่แตกต่างกันมาก ยกตัวอย่างเช่น สายพานลำเลียงกระป๋องบรรจุน้ำผลไม้วิ่งไปเจอไลน์ cooling ทำให้อุณหภูมิ ขณะนั้นลดต่ำลงอย่างรวดเ...

  • การคำนวณแรงดึงของสายพานแบบโค้งต่อเนื่องหลายโค้ง การคำนวณหาแรงดึงของสายพานแบบโค้งนั้น ใช้หลักในการคำนวณเช่นเดียวกับการหาแรงดึงในสายพานแบบตรง เพียงแต่มีเงื่อนไขและตัวแปรที่จำเป็นต้อ...