สายพาน Modular รุ่นใช้งานหนัก
สวัสดีครับวันนี้ทางConveyor Guide จะมานำเสนองานในรูปแบบแปลกๆใหม่ๆ ของสายพานโมดูล่า ซึ่งปกติแล้วแฟนคลับของชาวคอนเวเยอร์ไกด์ก็คงจะมีการรับรู้ได้แค่ว่าสายพานโมดูล่าเป็นสายพานที่ใช้กับงานที่เบาๆ แต่ในข้อเท็จจริงสายพานโมดูล่าสามารถใช้ ใช้งานได้ทุกสภาพของการทำงานไม่ว่าเป็นงานหนักหรืองานเบา
วันนี้Conveyor Guide จะขอนำเสนอสายพานโมดูล่าซึ่งใช้งานหนัก หนักมากจริงๆ สายพานชุดนี้ออกแบบสำหรับลำเลียงถุง BIG BAG หนักถุงละ 1 ตัน ดังนั้นสายพานที่ถูกเลือกใช้จึงต้องมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ คือสายพานรุ่น HS-502A-HD ซึ่งเป็นรุ่นยอดนิยมของเรา เพราะเป็นสายพานที่แข็งแรงทนทาน ราคาจับต้องเข้าถึงได้ง่ายๆเลย เพราะใช้ได้ในหลากหลาย Application แน่นอนวัสดุที่ใช้ต้องเป็น ปอม(Acetal-POM) ซึ่งมีความแข็งแรงกว่าวัสดุชนิดอื่นๆส่วนแข็งแรงแค่ไหน เรามาดูใน Data Sheet ว่า จากข้อมูลเดต้าชีต จะเห็นว่าสายพานที่ใช้วัสดุด้วย Acetal สามารถรับแรงดึงได้เท่ากับ 3500 กิโลกรัม ต่อ 1 เมตร ของหน้ากว้างในแนวตรง สายพานเส้นนี้มีหน้ากว้าง เท่ากับ 1 เมตร 52 เซนติเมตร ดึงนั้นจึงสามารถรับแรงได้สูงได้ถึง 5320 กิโลเมตรพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ สายพานเส้นนี้ สามารถมีถุงบิ๊กแบ็ค อยู่บนสายพานเส้นนี้พร้อมๆกันได้ถึง 5 ถุงสบายๆ
งานนี้เป็นงานโปรเจคมาไกลมากจากสงขลาลูกค้าคือ USGBORAL โดยแบ่ง Conveyor เป็น 2 Units ประกอบด้วย Unit แรกมีหน้ากว้าง 1520 mm มีความยาว 7250 มิลลิเมตรและอีก Unit 1 มีหน้ากว้างเท่ากันแต่แต่มีความยาว 2600 มิลลิเมตร ซึ่งถือว่าเป็นคอนเวเยอร์ที่มีขนาดใหญ่และรับน้ำหนักมากพอสมควรทีเดียว อย่างไรก็ตามยังมีสายพานโมดูล่าอีกหลายรุ่นซึ่งสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่านี้อีก แต่วันนี้ถือว่าสายพานเส้นนี้เป็นสายพานโมดูล่าที่รับน้ำหนักได้ประมาณปานกลางได้สบายๆ
เรามาดูขั้นตอนและกระบวนการการผลิตสายพานโมดูล่ารุ่นนี้ตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นตั้งแต่การไปดูหน้างานการสเก็ตแบบและการสร้างขึ้นมาจนใช้งานได้ ว่ามีกระบวนการอย่างไรเพื่อให้แฟนคลับของคอนเวเยอร์ไกด์ได้แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน ครั้งต่อไปอาจจะใช้เป็นแนวทางทำเองหรือจะให้ทางคอนเวเยอร์ไกด์เป็นคนให้บริการก็ได้ครับ......ตามผมมาได้เลยครับ
ขั้นตอนที่1 สเก็ตรูปจากหน้างานก่อนทำ Drawing
รูป 1 การสเก็ตรูปจากหน้างานก่อนมาทำแบบสายพานจริง
เราต้องรู้ Concept ความต้องการรูปแบบการใช้งาน น้ำหนักบรรทุก ความเร็วสายพานของลูกค้าก่อนว่าลูกค้าอยากให้ชื้นงานถูกลำเลียงออกมายังไง จากทิศไหนไปทิศไหน โดยเคสนี้ จะเป็นสายพานModular ลำเลียงถุง Big bag จากสายพานเส้นสั้นแล้วส่งต่อให้สายพานเส้นยาว จากรูป 1.1 เราจะได้แสดง Drawing ทั้ง 2 แบบ คือแบบความยาว 7250mm.และแบบความยาว 2600 mm.
ขั้นตอนที่ 2 คำนวณออกแบบและทำ Drawing
รูป2 Top View/Plan and Section of Conveyor
รูป3 Detail drawing ที่ทำเสร็จแล้ว
รูป4 สายพาน Modular Belt Bw1520 HS-502A-HD L=2600mm.
รูป5 สายพาน Modular Belt Bw1520 HS-502A-HD L=7250mm.
ขั้นตอนที่3 ผลิตและตรวจสอบความถูกต้องของระยะต่างๆของชิ้นงานหลังจากประกอบแล้ว
ทำการวัดระยะขนาดของ Conveyorหน้างานเพื่อ Check ความถูกต้องของ สายพานModular Belt ว่ามีความถูกต้องตามที่ออกแบบไว้หรือไม่
ขั้นตอนที่ 4 Test Run เพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งมอบลูกค้า
ความในใจของทีมงานคอนเวเยอร์ไกด์
เป็นความตั้งใจของทีมงานที่จะไม่นำเสนอเรื่องที่คนอื่นจัดให้มากอยู่แล้วเช่น เรื่องแคตตาล็อก(Catalog) ต่างๆ แต่เราจะนำเสนอเรื่องราวความรู้ในแง่มุมของหลักการ(Principle)และเหตุผล(Reasons)ว่าจะต้องทำยังไง(How)และทำไม(Why)จะต้องทำอย่างนั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่หาข้อมูลได้ยากพอสมควร แม้แต่ในตำราก็ไม่เคยบอกไว้ และก็ไม่มีใครเขาอยากจะบอกกัน หรือ ดังนั้นเนื้อหาบางเรื่องจึงเป็นเรื่องที่ผ่านการลงพื้นที่จริงของทีมงานแล้วนำมาวิเคราะห์บอกกล่าวผู้อ่านกันเอง
ลองถามมาเลยครับถ้าเป็นเรื่องสายพานลำเลียง (Conveyor Belt) ไม่ว่าจะเป็นสายพานยางดำ (Rubber Belt),สายพานกระพ้อ (Elevator Belt) สายพานพลาสติกโมดูลาร์ (Modular Belt) สายพาน PVC BELT , PU BELT, สายพานท็อปเชน(Flat Top Chain)ทีมงานวิศวกรจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือที่มีเบื้องหลังและประสบการณ์การทำงานด้านระบบสายพานลำเลียงทั้งระบบสายพานลำเลียงทั้งขนาดใหญ่(Heavy Duty)ที่และขนาดเบา(Light Duty) ร่วมกันแบ่งปันความรู้กับท่านผู้อ่านผ่าน website นี้
ยินดีแชร์กันทุกแง่มุม ตั้งแต่ การออกแบบ การผลิต การเลือก การเก็บรักษา การบำรุงรักษา การซ่อมแซม การต่อสายพาน การใช้งาน การ Modifyมีของเท่าไหร่ปล่อยหมด ไม่มีกั๊ก ไม่มีดึง ไม่มีเม้ม เปิดๆกันไปเลย เราบริการ ดัง MOTTO“ บอกทุกเรื่อง...ที่คนอื่นไม่อยากให้คุณรู้ “เสิร์ฟข่าวสาร อาหารสมอง” อย่างจุใจจริงๆ” “ตอบโจทย์เฉพาะเรื่อง....ครบเครื่องเรื่องสายพาน”
ขอขอบคุณ Supplier ทั้งใน อเมริกา ยุโรปและเอเชีย ที่ให้โอกาสเราได้เยี่ยมชมโรงงานและขบวนการผลิตตลอดจนให้ข้อมูลด้านเทคนิคลึกๆที่เป็นประโยชน์....ขอบคุณปัญหาทุกรูปแบบที่ทุกผู้บริโภคหรือผู้อ่านเป็นผู้นำโอกาสมาให้เราได้เรียนรู้....ขอบคุณผู้ที่เขียนตำราทั้งใน Website และText book…. ขอบคุณเพื่อนๆร่วมอาชีพที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์....ขอบคุณ Maker ผู้สร้างเครื่องจักรทั้งหลาย ที่ให้ข้อคิดเห็นดีๆที่เป็นประโยชน์ และสุดท้ายขอบคุณฝ่ายMaintenance ฝ่ายจัดซื้อและบัญชีการเงินของลูกค้าทุกท่านที่จ่ายเงินตรง Due....เราหวังว่าเราจะเดินทางไกลไปพร้อมๆกับคุณ ..If you want to walk fast…work alone. If you want to walk far...walk together.จึงเป็นที่มาของแนวคิดเรื่องการแบ่งปัน‘Together we Share’ผลงานที่นำมาเสนอ อาจจะ ออกช้าบ้างแต่ที่แน่ๆคือมันจะมีออกมาเรื่อยๆ....นี่คือคำสัญญาจากเรา