8.สายพานโมดูลาร์รูปตัว Z ติด Cleat +  Side Wall

         

  สวัสดีค่ะ วันนี้ทางบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด มีเรื่องราวเกี่ยวกับ สายพานโมดูลาร์ ที่ลำเลียงในแนวเอียงโดยการติดตั้งบั๊ง (Cleat) และผนังด้านข้าง (Sidewall) เพื่อลำเลียงสินค้าขึ้นที่สูงมาเล่าสู่กันฟัง งานนี้ลูกค้าต้องการประหยัดงบประมาณด้วยการซื้อสายพานโมดูล่าและอุปกรณ์ แล้วลูกค้าจะไปทำโครงสร้างและนำไปทำการประกอบติดตั้งด้วยตัวลูกค้าเอง

 

 

Layout รูปตัว Z ของสายพานโมดูล่าที่ติดตั้งบั๊ง (Cleat) และผนังด้านข้าง (Sidewall)

          1 สัปดาห์ผ่านไปลูกค้าได้ทำโครงสร้างชุดสายพานด้วยตัวเองแล้วเสร็จ นำสายพานประกอบเข้ากับชุดโครงสร้าง ติดตั้งมอเตอร์เสร็จ     เสียบปลั๊ก  กดปุ่มสตาร์ทเดินเครื่อง พบว่าสายพานเกิดมีเสียงดังเกิดขึ้น ทางลูกค้าจึงได้ติดต่อเข้ามายัง บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด เพื่อขอคำแนะนำ 


ทีมงานฝ่ายเทคนิคของบริษัทฯได้เข้าไปให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าที่หน้างาน

 

         เมื่อลูกค้าขอมาเช่นนั้น ทางบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด รีบจัดให้ตามคำขอ ส่งทีมวิศวกรเข้าดูหน้างานโดยทันที เมื่อเดินเครื่องพบว่า ปรากฏว่ามีเสียงดังแกร๊กๆ อยู่บริเวณตัวกดช่วงที่จะเปลี่ยนทิศทางจากทางราบขึ้นสู่ทางเอียงจริง ดั่งที่ทางลูกค้าแจ้งข้อมูลมา

          หลังจากที่ตรวจเช็คการทำงานของชุดสายพานดังกล่าวเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดเสียงดังกล่าวพบว่าต้นเหตุของเสียงดังกล่าวเกิดจาก Cleat กับ Side Wall ของชุดสายพานดังกล่าวเกิดการเบียดกัน (ซึ่งจากประสบการณ์ผ่านมาไม่เคยพบเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับสายพานโมดูลาร์) ดังนั้นทีมวิศวกรจึงได้ขออนุญาตทางลูกค้า ถอดชุดสายพานดังกล่าวเพื่อประกอบเข้าใหม่และวิเคราะห์สาเหตุของเสียงดังที่เกิดขึ้นซึ่งพอสรุปได้เป็นสาเหตุหลัก 3 อย่างด้วยกันคือ

1.โครงสร้างไม่ได้รูปทรงโย้ บิดเบี้ยว

          จากการที่ทีมงานตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าโครงสร้างของคอนเวเยอร์ชุดนี้บิดเบี้ยวส่วนหัวและท้ายโย้ไม่ขนานกันส่งผลต่อการเดินของระบบสายพานลำเลียงทำให้ขอบสายพานด้านหนึ่งเบียดกับโครงสร้างขณะที่อีกด้านหนึ่งสายพานห่างจากโครงสร้างมากเกินไป ส่งผลให้ตัวสายพานเกิดการบิดเบี้ยวเสียรูป ตามไปด้วย จึงทำให้ Cleat และ Side wall ชิดกันมากเกินไป เกิดการเสียดสีกัน ซึ่งเป็นที่มาของการเกิดเสียงดังกล่าว หัวท้ายของลูกกลิ้งจะต้องมีระยะเท่ากันและขนานกันไม่โย้


โครงสร้างของสายพานโย้ไม่อยู่ในแนวดิ่ง

 

2. การติดตั้งเฟือง (Sprocket) ไม่ถูกต้อง

          ลูกค้าติดตั้ง Sprocket โดยจัดมาร์คของ Sprocket ไม่ตรงกันทุกตัว หลักการติดตั้งเฟือง (Sprocket) นั้นควรทำการจัดรูปแบบของเฟืองให้ถูกต้อง ปกติแล้วจะยึดสป๊อกเก็ตเฉพาะตัวกลางส่วนที่เหลือให้ปล่อยอิสระ เพื่อให้มีความยืดหยุ่นอยู่เสมอ สามารถขบกับสายพานส่งผ่านแรงระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพขณะที่สายพานยืด-หดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ


 

ภาพลักษณะการติดตั้งที่ไม่ถูกต้องเรียงสป๊อกเก็ตไม่ตรงตำแหน่งมาร์ค

 

ภาพลักษณะการติดตั้ง Sprocket ที่ถูกต้องตำแหน่งมาร์คต้องตรงกันทุกตัว

 

ภาพลักษณะการยึด Sprocket ตัวกลางกับเพลา (Shaft) ส่วนที่เหลือปล่อยอิสระ

 

3. สายพานหย่อนเกินไป

          เนื่องจากลูกค้าไม่มีการรอง Wear Strip บริเวณด้าน Return ของสายพาน ทำให้สายพานเกิดการหย่อนตัวมากเกินไป ส่งผลให้สายพานเกิดการเขย่าตัวขณะใช้งาน การเดินของสายพานไม่ราบเรียบ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการชำรุดเสียหายของชุดสายพานเร็วกว่าปกติ

 

 

          บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด ได้เร่งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมากจึงได้จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการติดตั้งสายพาน Modular สำหรับเป็นแนวทางให้กับทุกท่านที่สนใจที่จะทำโครงสร้างสายพาน Modular และต้องการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์สายพาน Modular Belt จากทางบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด ลูกค่าท่านใดสนใจศึกษาข้อมูลเบื้องต้น หรือมีปัญหาอะไร สามารถดูได้ที่ http://www.conveyorguide.co.th/ และยังสามารถ Add  Line มาพูดคุยกันได้ที่ @cg1356

เรื่องเงินถาม...ธนาคาร......เรื่องสายพาน....ถามเรา

ความในใจของทีมงานคอนเวเยอร์ไกด์

     เป็นความตั้งใจของทีมงานที่จะไม่นำเสนอเรื่องที่คนอื่นจัดให้มากอยู่แล้วเช่น เรื่องแคตตาล็อก(Catalog) ต่างๆ แต่เราจะนำเสนอเรื่องราวความรู้ในแง่มุมของหลักการ (Principle) และเหตุผล (Reasons) ว่าจะต้องทำยังไง (How) และทำไม (Why) จะต้องทำอย่างนั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่หาข้อมูลได้ยากพอสมควร แม้แต่ในตำราก็ไม่เคยบอกไว้ และก็ไม่มีใครเขาอยากจะบอกกัน หรือ ดังนั้นเนื้อหาบางเรื่องจึงเป็นเรื่องที่ผ่านการลงพื้นที่จริงของทีมงานแล้วนำมาวิเคราะห์บอกกล่าวผู้อ่านกันเอง

     ลองถามมาเลยครับถ้าเป็นเรื่องสายพานลำเลียง (Conveyor Belt) ไม่ว่าจะเป็นสายพานยางดำ (Rubber Belt), สายพานกระพ้อ (Elevator Belt)สายพานพลาสติกโมดูลาร์ (Modular Belt)  สายพาน PVC BELT , PU BELT, , สายพานท็อปเชน(Flat Top Chain) ทีมงานวิศวกรจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือที่มีเบื้องหลังและประสบการณ์การทำงานด้านระบบสายพานลำเลียงทั้งระบบสายพานลำเลียงทั้งขนาดใหญ่(Heavy Duty)ที่และขนาดเบา(Light Duty) ร่วมกันแบ่งปันความรู้กับท่านผู้อ่านผ่าน website นี้

     ยินดีแชร์กันทุกแง่มุม ตั้งแต่ การออกแบบ การผลิต การเลือก การเก็บรักษา การบำรุงรักษา การซ่อมแซม การต่อสายพาน การใช้งาน การ Modifyมีของเท่าไหร่ปล่อยหมด ไม่มีกั๊ก ไม่มีดึง ไม่มีเม้ม เปิดๆกันไปเลย เราบริการ ดัง MOTTO “ บอกทุกเรื่อง...ที่คนอื่นไม่อยากให้คุณรู้ “เสิร์ฟข่าวสาร อาหารสมอง” อย่างจุใจจริงๆ“ตอบโจทย์เฉพาะเรื่อง....ครบเครื่องเรื่องสายพาน”

     ขอขอบคุณ Supplier ทั้งใน อเมริกา ยุโรปและเอเชีย ที่ให้โอกาสเราได้เยี่ยมชมโรงงานและขบวนการผลิตตลอดจนให้ข้อมูลด้านเทคนิคลึกๆที่เป็นประโยชน์....ขอบคุณปัญหาทุกรูปแบบที่ทุกผู้บริโภคหรือผู้อ่านเป็นผู้นำโอกาสมาให้เราได้เรียนรู้....ขอบคุณผู้ที่เขียนตำราทั้งใน Website และText book…. ขอบคุณเพื่อนๆร่วมอาชีพที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์....ขอบคุณ Maker ผู้สร้างเครื่องจักรทั้งหลาย ที่ให้ข้อคิดเห็นดีๆที่เป็นประโยชน์ และสุดท้ายขอบคุณฝ่ายMaintenance ฝ่ายจัดซื้อและบัญชีการเงินของลูกค้าทุกท่านที่จ่ายเงินตรง Due....เราหวังว่าเราจะเดินทางไกลไปพร้อมๆกับคุณ ..If you want to walk fast…work alone. If you want to walk far...walk together.จึงเป็นที่มาของแนวคิดเรื่องการแบ่งปัน ‘Together we Share’ ผลงานที่นำมาเสนอ อาจจะ ออกช้าบ้างแต่ที่แน่ๆคือมันจะมีออกมาเรื่อยๆ....นี่คือคำสัญญาจากเรา