สายพานโมดูล่าร์กับชิ้นงานยางพารา

สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) กับไลน์การผลิตชิ้นงานยางพารา

บทนำ

  มีคำถามมากมายว่าสายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) ใช้ในอุตสาหกรรมอะไรได้บ้าง? คำตอบคือ สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) ใช้ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม คิดกันง่ายๆว่างานประเภทไหนที่สายพาน PVC ทำได้ สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) ก็สามารถทดแทนได้และเกือบทั้งหมดสามารถแก้ปัญหาที่เกิดกับสายพาน PVC ได้อีกด้วยโดยเฉพาะเรื่องปัญหาสายพาน Slide(สายพานวิ่งไม่ตรงแนว) สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) แก้ไขได้ 100 % ตัวอย่างบางส่วนของอุตสาหกรรมที่ใช้สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt)โดยเฉพาะการลำเลียงวัสดุประเภท Unit Load (เป็น ชิ้น กล่อง มัด) เช่น

·  AUTOMOTIVE (อุตสาหกรรมยานยนต์)

·  MATERIAL + PACKAGING(อุตสาหกรรมการลำเลียงกระดาษ, กล่อง)

·  MEAT AND POULTRY (อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เนื้อ, ไก่)

·  PASTA (อุตสาหกรรมประเภทอาหารเส้น)

·  Battery and Chemical (อุตสาหกรรมแบตเตอร์รี่และเคมีภัณฑ์)

·  SEAFOOD (อุตสาหกรรมแปรรูป อาหารทะเล)

 

          ยังมีอุตสาหกรรมอีกมากมายที่ยังไม่ได้กล่าวถึง แต่ในบทความนี้เราจะมาเจาะลงลึกถึงสายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) ที่ใช้กับ ไลน์สายพานลำเลียงผลิตภัณฑ์ยางพารา เช่นที่นอน ที่นั่ง หมอน และผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ทำจากฟองยางพาราธรรมชาติ

 ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางพาราเช่น ที่นอน หมอน

     ที่ผลิตตามขั้นตอนของดันลอป(Dunlop Process) ซึ่งผู้เขียนไม่มีความเชี่ยวชาญในระบบการผลิตก็เลยขอเลยขอลอกขั้นตอนจาก Research and development center for Thai Rubber Industry มาให้ดูตามรูปข้างล่าง

 

ปัญหาที่เกิดขึ้น

   ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับสายพานลำเลียงเท่านั้น ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมและรับทราบปัญหาที่โรงงงานหลายแห่งเลยได้ข้อมูลมาบ้างจะลองสเก็ตรูปพอให้ท่านได้เข้าใจตามที่เห็นสัก 2 ตัวอย่าง

โรงงานที่ 1.เครื่องจักรตัวนี้เป็นเครื่องอบชิ้นงานให้แห้งมี ลมร้อนเป่าทั้งด้านบนและด้านล่าง

 

ระบบการทำงานภายในของเครื่องอบของโรงงานที่ 1

 

         ส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับระบบลำเลียงจะเริ่มเมื่อ ผลิตภัณฑ์ยางพาราเช่นที่นอน ที่นั่ง หมอน ที่ผ่านแม่พิมพ์ขึ้นรูปเรียบร้อยแล้วยังมีความชื้นอยู่มาก ก็จะลำเลียงผ่านเข้าสู่สายพานลำเลียงเพื่ออบด้วยความร้อนให้ฟองยางสุก และไล่ความชื้น เครื่องจักรตัวนี้เป็นเครื่องอบ (ขอเรียกอย่างนี้ก่อนก็แล้วกัน) โดยใช้ความร้อนเป็นตัวทำให้น้ำระเหยออกจากผลิตภัณฑ์ เท่าที่สอบถามมาหลายโรงงานทราบว่า เครื่องจักรจะทำในประเทศยุโรป และ Made in Italy กันทั้งนั้น โดยมีตัวให้ความร้อน (Heater) อยู่ด้านบนของสายพานซึ่งมีหน้ากว้างประมาฯ 2.40 เมตร มีความยาวประมาณ 14 เมตร สายพานหนาประมาณ 1 มม.

 

                                  

สายพานทำจาก ตาข่ายไนล่อน หรือ Polyester

 

     ตัวให้ความร้อน(Heater) จะเป่าลมร้อนอยู่ภายอุโมงค์ล้อมที่ล้อมรอบด้วยผนังทั้ง 4 ด้านเพื่อกันความร้อนสูญเสียออกไปภายนอก ตัวให้ความร้อน(Heater)นี้ผลิตความร้อนประมาณ 90 องศาเซลเซียส (ข้อมูลจากผู้ใช้งาน) เป่าความร้อนออกมาให้ร้อนสม่ำเสมอตลอดทั้งอุโมงค์ เมื่อสายพานลำเลียงผลิตภัณฑ์ยางพารา(ชิ้นงาน) เช่น ที่นอน ที่นั่ง หมอน และผลิตภัณฑ์อื่นๆเข้ามาในอุโมงค์ความร้อน ผลิตภัณฑ์ (ชิ้นงาน) จะมีอุณหภูมิสะสม ประมาณ 100 องศาเซลเซียส (ผู้ใช้งานบอกว่าขอแจ้งให้มีค่าสูงไว้ก่อน แต่ผู้เขียนไม่ยืนยันในความถูกต้องของข้อมูล) อย่างไรก็ตามผู้เขียนเคยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิด้วยinfrared พบว่า(ชิ้นงาน) มีอุณหภูมิประมาณ 70 องศาเซลเซียสเท่านั้น ผลิตภัณฑ์(ชิ้นงาน) จะเคลื่อนที่ผ่านอุโมงค์ด้วยความเร็วช้าๆ ประมาณ 0.5 เมตรต่อนาที นั่นคือ ต้องใช้เวลาประมาณ 28 นาที หรือจำง่ายๆว่าประมาณ ครึ่งชั่วโมง ผลิตภัณฑ์(ชิ้นงาน) ก็จะออกจากอุโมงค์ ขณะที่อยู่ในอุโมงค์ผลิตภัณฑ์(ชิ้นงาน) จะได้รับความร้อนจากด้านบน ขณะเดียวกัน จะมีลมร้อนเป่าจากด้านล่างผ่านรูตะแกรงสายพานหรือตาข่ายไนล่อน หรือ Polyester (ไม่แน่ใจว่าทำด้วยวัสดุอะไรแน่ เพราะผู้ใช้งานก็ไม่ทราบเช่นเดียวกันในคู่มือก็ไม่ได้บอกไว้ เข้าใจว่าต้องการให้ซื้อจากผู้ผลิตเครื่องจักรเท่านั้น) ขึ้นมาด้านบนเพื่อให้ผลิตภัณฑ์(ชิ้นงาน) ระบายความชื้นออกได้ทั่วทั้งตัวเมื่อผลิตภัณฑ์(ชิ้นงาน) ออกมาจากอุโมงค์วามร้อนแล้วก็จะแห้งพอประมาณตามความต้องการเพื่อไปสู่ขบวนการผลิตอื่นๆต่อไป ซึ่งจะไม่กล่าวถึง ณ.ที่นี้

 

3.ปัญหาที่ประสบในโรงงาน

           3.1 ปัญหาที่ประสบใน โรงงานที่ 1 จะแบ่งออกได้เป็น 5 เรื่องคือ 

           1.เกิด Defect ในชิ้นงาน คือ ชิ้นงานมีรอยย่นในแนวขวางตามรอยย่นของสายพาน ถ้าจะให้ผู้เขียนเดาว่าทำไมสายพานจึงย่น (เสียรูป) ก็สันนิฐานว่าเกิดจาก ชิ้นงานที่มีความชื้น(บางครั้งเรียกว่าเปียกก็ได้) ที่วางอยู่บนสายพานได้รับความร้อนแล้วหดตัวเนื่องจากการสูญเสียน้ำ ชิ้นงานก็จะดึงสายพานให้ย่นเข้ามา เนื่องจากสายพานเป็นแค่ตาข่ายบางๆ และการปรับตึงอาจไม่เพียงพอ อีกทั้งตาข่ายมีโครงสร้างการถักทอด้านขวาง (Transverse) ที่ไม่แข็งแรงเพียงพอที่จะรองรับแรงแรงดึงด้านข้างสายพานจึงไม่มีเสถียรภาพเพียงพอที่จะต้านแรงดึงจากการหดตัวของชิ้นงานได้ ดังนั้นจึงเกิด Defect ในชิ้นงาน ชิ้นงานจะเสียหายเป็นรอยตามยาวในด้านขวาง ทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่ได้คุณภาพตามต้องการเป็นปัญหาของฝ่ายผลิต เมื่อสินค้าตกเกรอก็ ต้องคัดเกรดชิ้นงานเป็น เกรด B ราคาตก ขายได้เงินน้อยลง คราวนี้เป็นปัญหาของเถ้าแก่บ้างล่ะ แต่เมื่อไหร่ก็ตามถ้าเป็นปัญหาของเถ้าแก่ คือเงินในกระเป๋าของเถ้าแก่หายไปจากที่ควรจะได้ เชื่อเถอะอีกไม่นานมันจะเป็นปัญหาของทุกคน งานนี้ผู้เขียนไม่ได้เดาแต่พูดความจริง

                                

สายพานจึงย่น (เสียรูป)                    ชิ้นงานได้ ดังนั้นจึงเกิด Defect 

                                         

                                         ชิ้นงานขณะลำเลียงในตู้อบ                     ชิ้นงานที่สวยงาม

 

              2.สายพานที่ทำด้วยไนล่อน หรือ Polyester เกิดลุกไหม้เป็นหย่อมๆ เนื่องจากสะเก็ดจากตัวให้ความร้อน (Heater) กระเด็นตกลงมาจากด้านบนแล้วค้างบนสายพานจึงเกิดลุกไหม้เป็นจุดๆอยู่ทั่วไปตลอดหน้ากว้างของสายพาน ปะซ่อมก็ไม่ได้หรือทำได้บางครั้งก็ทำให้สายพานสกปรกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากทำความสะอาดลำบากส่งผลทำให้ชิ้นงานสกปรกตามไปด้วย

                                         

รอยไหม้สายพาน                          สายพานมีรูให้อากาศผ่าน

 

            3. เมื่อจำเป็นต้องวางชิ้นงานบนตำแหน่งรอยไหม้ หรือรอยปะสายพาน  ความสกปรกจะติดกับชิ้นงาน ทำให้ชิ้นงานเกิด Defect ซึ่งเป็นเรื่องที่ฝ่ายผลิตไม่ยอมให้เกิดขึ้น แต่รู้จะแก้ไขได้อย่างไร

           4.การเปลี่ยนสายพานที่ทำด้วยไนล่อน หรือ Polyester ตาม Specification เดิมต้องใช้เวลานานและต้องนำเข้าผ่านบริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรเท่านั้น เพราะผู้ใช้งานก็ไม่มีความรู้เพียงพอที่จะใช้ของประเภทอื่นทดแทน ใจจริงก็อยากจะจัดซื้อจัดหาในประเทศมากกว่า ที่สำคัญคือสายพานที่ทำด้วยไนล่อน หรือ Polyester และมีราคาแพงมาก ตลอดจน lead time ก็ใช้เวลานาน และเมื่อเปลี่ยนแล้วก็ยังหนีจากปัญหาเดิมๆดังที่กล่าวมาไม่ได้อยู่ดี ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องหาทางเลือกใหม่ๆเพื่อทดแทนสายพานเส้นเดิม

           5. เกิดปัญหาสายพาน Slide ทำให้ขอบสายพานเสียหาย ปัญหานี้เป็นปัญหาพื้นถานของสายพานที่ขับด้วย Friction หรือที่เรียกกันว่าสายพาน PVC, PU หรือ สายพานยางดำ ซึ่งผู้เขียนจะไม่กล่าวถึงในที่นี้ แต่ก็สร้างปัญหาให้ผู้ใช้งานแน่นอน

            3.2 ปัญหาที่ประสบในโรงงานที่ 2 จะแบ่งออกได้เป็น 2 เรื่องคือ

              1.เกิด Defect ในชิ้นงาน เนื่องจากสายพานสกปรกแล้วไม่สามารถทำความสะอาดได้ง่ายๆ ยิ่งนานวันก็ยิ่งสะสมความสกปรกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากทำความสะอาดลำบาก (สายพานวิ่งผ่านลูกกลิ้งด้านReturn ที่ไม่สะอาด สายพานก็ยิ่งสะสมความสกปรกมากขึ้นๆ) ส่งผลทำให้ชิ้นงานที่วางบนสายพานสกปรกตามไปด้วย โรงงานนี้มีระบบปรับAlignment สายพานแบบอัตโนมัติ จึงไม่มีปัญหาเรื่องสายพาน Slide

โรงงานที่ 2.เครื่องจักรตัวนี้เป็นเครื่องอบชิ้นงานที่ออกจาก Mold แล้วให้แห้งโดยใช้คลื่นความร้อน

 

คราบรอยเปื้อนบนสายพานทำให้ชิ้นงานสกปรก

 

            2.สายพานที่ทำด้วยไนล่อน หรือ Polyester เกิดลุกไหม้เป็นหย่อมๆ เนื่องจากฟองยาง (สีขาวๆในรูป) จะลุกไหม้ ตกลงมาจาก Mold ด้านบนสายพานจึงเกิดลุกไหม้เป็นจุดๆอยู่ทั่วไปตลอดหน้ากว้างของสายพาน สำหรับโรงงานนี้ ทั้งปะทั้งซ่อมจนจะไม่เหลือให้เห็นเป็นสภาพของสายพานแล้ว อยากจะเปลี่ยนใหม่เต็มทีแล้วทั้งปะ-ทั้งซ่อมจนจะไม่เหลือให้เห็นเป็นสภาพของสายพานแล้ว 

                               

 ทั้งปะทั้งซ่อมจนไม่เหลือสภาพของสายพานแล้ว

 

4. ความต้องการของผู้ใช้งาน

 จากปัญหาทั้ง 5 ข้อที่กล่าวมาแล้วข้างต้นสรุปความต้องการของผู้ใช้งานว่าต้องการสายพานไว้ใช้งานโดยมีคุณสมบัติดังนี้คือ

         1.ต้องเป็นสายพานที่สามารถทนอุณหภูมิการใช้งานได้ประมาณ 100 องศาเซลเซียส

         2. ต้องเป็นสายพานที่สามารถให้อากาศไหลทะลุผ่านได้เพื่อให้ชิ้นงานได้รับความร้อนอย่างทั่วหน้า จะได้ให้ความชื้นระเหยได้อย่างรวดเร็ว

         3.ต้องเป็นสายพานที่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ไม่เปื้อนกับชิ้นงาน

         4.เมื่อสายพานเสียหายเป็นจุดๆ (Local damage) ต้องซ่อมแซมได้ง่าย ใช้เวลาสั้นๆเท่านั้น

         5.ไม่เกิดปัญหาสายพาน Slide

 

5.วิธีแก้ไข

 จากปัญหาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คำตอบจึงมาลงตัวที่ สายพานModular อย่างพอดี เพราะ ความสามารถที่โดดเด่นของสายพานModular เมื่อเปรียบเทียบกับสายพานยางดำ สายพาน PVC- PU หรือสายพานที่ทำด้วย ไนล่อนหรือ polyester คือสายพานModular ที่มีทั้งแบบที่เป็นแบบทึบ ไม่มีรู ซึ่งจะให้ความแข็งแรงทนทานสูง บางรุ่นก็มีรูสามารถระบาย (Drain) น้ำหรือของเหลวออกจากวัสดุลำเลียงรวมถึงไห้อากาศ Flow ผ่านตัวสายพานได้ เพื่อให้วัสดุแห้ง ก่อนส่งไป process ต่อไป เลือกสายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) เพราะตอบคำถามเหล่านี้ได้

      1.ต้องเป็นสายพานที่สามารถทนอุณหภูมิการใช้งานได้ประมาณ 100 องศาเซลเซียส (อยู่ในขอบเขตสายพานModular ที่ทำได้อยู่แล้ว)

    2. ต้องเป็นสายพานที่สามารถให้อากาศไหลทะลุผ่านได้เพื่อให้ชิ้นงานได้รับความร้อนอย่างทั่วหน้า จะได้ให้ความชื้นระเหยได้อย่างรวดเร็ว(เลือกสายพานModular แบบมีรูตอบปัญหาได้)

      3.สายพานModular เป็นสายพานที่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ไม่เปื้อนกับชิ้นงาน(เป็นจุดเด่นของสายพานModular อยู่แล้วที่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย)

    4.เมื่อสายพานเสียหานเป็นจุดๆ (Local damage) ต้องซ่อมแซมได้ง่าย ใช้เวลาสั้นๆเท่านั้น(สายพานModular เปลี่ยนง่านเหมือนต่อจิ๊กซอ)

      5.สายพานModularไม่เกิดปัญหาสายพาน Slide แน่นอนเพราะขับโดย Sprocket

      6. Recommendation เลือกสายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) 

           โรงงานที่ 1 สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) วัสดุ PP Model 200 B สำหรับให้อากาศ ไหล (Flow) ผ่านตัวสายพานได้ น่าใช้ที่สุด เพราะราคาถูกที่สุด ไม่ต้องแปลกใจที่ผู้ขายจะแนะนำ PP เกือบทุกApplication ให้ท่าน แต่จริงๆแล้ว PP เหมาะสมกับงานเบาถึงปานกลางทั่วๆไป ในสภาพแวดล้อมปรกติ ครอบคลุมการทำงานได้หลายหลากประเภท คุณสมบัติเด่นๆ คือ ทนความร้อนได้สูง (4-100 *C)ทนทานต่อการเสียดสี (Wear Resistance) ทนทานต่อสารเคมี

 

  สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) วัสดุ PP Model 200 B 

 

          โรงงานที่ 2 สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) Model 200 A สำหรับผิวเรียบ (Flat Top) ทึบวัสดุ PP Model 200A ไม่มีรู เนื่องจากไม่ต้องการการไหลเวียนของอากาศผ่านสายพาน ซึ่งจะให้ความแข็งแรงทนทานสูงกว่าแบบ 200 B

                                     

 สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) วัสดุ PP Model 200 A 

 

 7. แนวคิดวิธีเลือกสายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt)

         Conveyor Guide Co.Ltd. ช่วยอะไรท่านได้บ้างเกี่ยวกับสายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) อย่างแรกเลยคือ การให้ความรู้ทั่วๆไปสำหรับท่านมือใหม่ เพื่อเป็นแนวทางการเลือกสายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) ให้เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละท่านมากที่สุด ต่อมาก็จะเสริมความเชื่อมั่นต่อการใช้งานสายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) โดยช่วยให้ข้อมูลด้านเทคนิค(Engineering Information) ที่จะช่วยให้ท่านมีความรู้จนเกิดมีความมั่นใจในการใช้งานที่เกี่ยวเนื่องกับ Application ของท่าน นอกจากนี้เรายังสามารถแนะนำ ช่วยเหลือเรื่องการออกแบบหาขนาดของ Motor  การเลือกใช้ Accessories ต่างๆ เท่านั้นยังไม่พอ หากท่านยังงงๆเรื่องการออกแบบอยู่ อยากให้เราช่วยส่ง Drawing เกี่ยวกับ Layout มาตรฐานของระบบลำเลียงสายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt)  ไม่ว่าจะเป็น straight running conveyors, side flexing conveyors and elevating conveyors. เราก็สามารถช่วยท่านได้ งานประเภทนี้นี้ขอเอาเป็น เคส (Case) ๆ ก็แล้วกัน สรุปง่ายๆว่า อยากได้อะไรก็ให้ขอมา ถ้าหาได้ทันที ส่งให้ทันใจ ถ้ายังหาไม่ได้หรือไม่รู้ก็ขอติดไว้ก่อน หาได้เมื่อไหร่ส่งให้ทันทีเหมือนกัน นี่แหละตัวตนที่แท้จริงของ Conveyor Guide Co.Ltd ล่ะ

 

 · เนื่องจากสายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) มีหลากหลายชนิดมาก แต่ละชนิดก็จะเหมาะสมกับการใช้งานเฉพาะ (Specific Application) ประเภทนั้นๆและสายพานModular ยังมีแบบแปลกๆที่ใช้งานได้มากมายหลาย Applications ถ้าเป็นมือใหม่ก็จะเข้าใจได้ยากหน่อยดังนั้น Conveyor Guide Co.Ltd ก็จะให้แนวทางการเลือกไว้ให้ท่านได้หยิบมาง่ายๆจะได้ไม่เสียเวลา

           1.เลือกชนิดของวัสดุที่ใช้ทำสายพานให้เหมาะสมกับการใช้งานเสียก่อนเช่นใช้งานที่อุณหภูมิต่ำๆ -70*C-35C* (Low Temperature) หรืองานที่อุณหภูมิสูง 60-105 องศาเซลเซียส หรือ ทนต่อแรงกระแทกได้สูง (High Impact Resistance) หรือทนทานต่อการเสียดสี (Wear Resistance) หรือต้องการแข็งแรง (High Strength) มากๆ ใช้งานที่สิ่งแวดล้อมเปียกหรือแห้ง เพื่อให้เห็นภาพรวมจึงขอนำตารางที่บรรพบุรุษรวบรวมคุณสมบัติไว้แล้วมาเสนอต่อเพื่อท่านจะได้เลือกง่ายขึ้น

 

 

 

วัสดุที่ใช้ผลิตเป็นสายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) มีหลักๆอยู่ 3 ชนิดมีคุณสมบัติต่างกันอย่างไรจะเลือกใช้ยังไงดี?

           Ø PP (Polypropylene) ตัวนี้เป็นตัวยอดฮิต นิยมใช้กันมากเพราะ เปรียบเทียบความคุ้มค่ากับสมรรถนะของการใช้งานแล้วน่าใช้ที่สุด เพราะราคาถูกที่สุด ไม่ต้องแปลกใจที่ผู้ขายจะแนะนำ PP เกือบทุก Application ให้ท่าน แต่จริงๆแล้ว PP เหมาะสมกับงานเบาถึงปานกลางทั่วๆไป ในสภาพแวดล้อมปรกติ ครอบคลุมการทำงานได้หลายหลากประเภท คุณสมบัติเด่นๆ คือ ทนความร้อนได้สูง (4-100 *C) ทนทานต่อการเสียดสี (Wear Resistance) ทนทานต่อสารเคมี ประเภทต่างๆ แต่เปราะเมื่อใช้งานที่อุณหภูมิต่ำๆ ไม่แนะนำใช้กับงานที่มีแรงกระแทก

 

             สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) มีหลากหลายชนิดมาก แต่ละชนิดก็จะเหมาะสมกับการใช้งานเฉพาะ (Specific Application)

Ø  PE (Polyethylene) ตัวนี้เป็นเหมาะสมที่สุดกับการใช้งานที่อุณหภูมิต่ำๆ -70*C-35C* (Low Temperature) ใช้งานในห้องเย็นได้ดี ทนต่อแรงกระแทกได้สูง (High Impact Resistance)ทนทานต่อการเสียดสี (Wear Resistance) มีความถ่วงจำเพาะ (0.95) น้อยกว่าน้ำจึงลอยน้ำได้นิยมใช้กันมากในอุตสาหกรรมอาหารประเภทสัตว์ปีก (Poultry) เนื่องจากผิวลื่นไม่เกาะติดกับเนื้อสัตว์

   

Ø  POM หรือ Acetal (Polyoxymethylen/Polyformaldehyde) วัสดุตัวนี้เป็นวัสดุที่แข็งแรง(High Strength) กว่า PP หรือ PE เนื่องจากมีผิวแข็งแรงมาก ลื่นเหมาะสมที่สุดกับการใช้งานที่วัสดุลำเลียงเคลื่อนที่บนผิว (Slide Contact)ของสายพาน ด้วยความเร็วสูงเช่นการ ลำเลียงขวดหรือกระป๋อง และวัสดุตัวนี้ยังทนต่อแรงตกกระทบที่รุนแรง ทนต่อแรงกระแทกได้สูง(High Impact Resistance) ทนทานต่อการเสียดสี-ขีด-ข่วนได้ดี (High Wear Resistance) เหมาะสำหรับงานหนัก นิยมใช้กันมากในอุตสาหกรรมประเภทที่ต้องใช้ของมีคมสัมผัสโดยตรงกับตัวสายพานทนทานเช่นมีดตัดเนื้อสัตว์ มีดตัดเนื้อยาง นอกจากนี้ยังเหมาะสมกับการใช้งานในระยะยาว ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่สัมผัสกับ กรดเข้มข้นสูง (High Concentration Acid) และ Chlorine

 

 ·  2.เลือกแบบของสายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt)ให้เหมาะกับการใช้งานเช่นแบบผิวเรียบ(Flat Top) ทึบ ไม่มีรู ซึ่งจะให้ความแข็งแรงทนทานสูง หรือเลือก Flush Grid มีรูสามารถระบาย (Drain) น้ำหรือของเหลวออกจากวัสดุและให้อากาศ ไหล (Flow)  ผ่านตัวสายพานได้( 10-50%) และยังมีแบบแปลกๆที่ใช้งานได้มากมายหลาย Applications เช่น มีครีบ(Cleat) เพื่อลำเลียงในแนวชัน มีขอบข้าง (Side Guard) ป้องกันของตก มีผิวหยาบขรุขระ เคลือบด้วยยาง (Grip)  ป้องกันของไหลหรือลื่นขณะลำเลียง หรือมีกระพ้อ (Bucket) หรือ Sidewall สำหรับขนถ่ายในที่สูงชัน ค่อยๆเลือกหรือสงสัยไม่เข้าใจสอบถามเราก่อนก็ได้

                                

 สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) มีทั้งแบบผิวเรียบ (Flat Top) ทึบ และ Flush Grid มีรูสามารถให้ น้ำหรืออากาศผ่านได้

 

 

3.สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) มีผิวหน้า 2 แบบคือ

 Ø 3.1 ผิวแบบเรียบ (Flat top) ปิดทึบ (Closed Belt Surface) ออกแบบมาสำหรับให้ผิวหน้าปิด ไม่มีรู (0% Open area)

 สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) ผิวแบบเรียบ (Flat top) ปิดทึบ

 

Ø 3.2ผิวแบบมีรูสามารถระบาย (Drain) น้ำหรือของเหลวออกจากวัสดุและให้อากาศ ไหล (Flow)  ผ่านตัวสายพานได้( 10-50%) เพื่อเพิ่ม/ลด อุณหภูมิ หรือให้น้ำไหลผ่านเพื่อทำความสะอาดวัสดุที่ลำเลียงได้

สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) ผิวแบบFlush Grid มีรู

 

           สงสัยสิ่งใด ส่งรายละเอียดทั้งหมดมาทาง E-mail จะสะดวกดีมากครับ อยากรู้อะไรเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วน โทรศัพท์มาสอบถามรายละเอียด เรายินดีให้คำปรึกษาตลอดเวลา หรือต้องการให้เราไปอบรมหรือจัดสัมมนาให้หน่วยงานบำรุงรักษาในหน่อยงานของท่านก็ได้ (มีค่าบริการนะครับ) ไม่เพียงแต่เรื่องนี้เท่านั้นนะครับ เรื่องอะไรก็ได้ที่ท่านอยากรู้เกี่ยวกับสายพานลำเลียงก็ลองติดต่อเข้ามาได้อะไรที่แบ่งๆกันได้และไม่เปลืองทรัพยากรจนเกินไปก็ยินดีรับใช้ฟรีครับ เพราะเรามี Motto การทำงานคือ ‘’Together We Share ไปด้วยกัน...เผื่อแผ่กัน’’ ครับ เราจะหาความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบลำเลียงมานำเสนออย่างสม่ำเสมอ “มีของเท่าไหร่ก็ปล่อยหมด ไม่มี กั๊ก ไม่มีดึง ไม่มีเม้ม” “ถึงแม้ว่าเราจะเดินช้า...แต่เราก็ไม่เคยหยุดเดิน” แล้วพบกันใหม่ครับขอบคุณที่ติดตาม