Curve conveyor (สายพานโค้งรุ่นพิเศษ)

สายพานโค้ง PVC มีปัญหา..สายพาน Modular..แก้ได้

  หมดปัญหาสายพานโค้งด้วย สายพาน Modular โค้งรุ่น 2000A

  •   หมดปัญหาสายพานโค้งด้วย สายพาน Modular โค้งรุ่น 2000A

 

สายพาน Modular โค้งรุ่น 2000A มีคุณสมบัติดังนี้

  1. เป็น Modular Belt รุ่น หน้าบนเรียบ (Flat Top)
  2. มีรัศมีคงที่ ที่ 600 มม.ตายตัว
  3. มีความกว้างมาตรฐานที่ 200/400/600/800/1000/1200/1400/1600 มม.
  4. ความเร็วสายพานสูงสุด 60 m. /min.

 

 

 

ทางเลือกใหม่ สายพานโค้ง (Curve Belt Conveyor)

 

1.ความเป็นมาของปัญหา

            ระบบสายพานลำเลียงประเภท  Lightweight หรือที่เราเรียกกันว่า สายพาน PVC หรือ PU นั้นถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ในการลำเลียงสินค้าประเภท Unit Load เพราะว่า มีราคาถูก น้ำหนักเบา มีหลากหลาย Application ให้เลือกใช้ การต่อ(Splice)และการติดตั้ง(Installation) ทำได้ง่ายกว่าสายพานยางดำและPVCแต่สามารถใช้งานได้และมีประสิทธิภาพอย่างเพียงพอสำหรับการลำเลียงวัสดุทั่วๆที่  ใช้แรงดึงไม่มากและลำเลียงเป็นแนวตรง(Straight Line)  ปัญหามีเพียงเล็กน้อยซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานคือสายพานเดินไม่ตรงแนว (Misalignment) ซึ่งก็ปรับแก้กันได้ไม่ยากเย็นแต่ประการใด แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ Line การผลิตต้องมีระบบลำเลียงเป็นแนวโค้ง(Curve Conveyor) มาเกี่ยวข้อง ปัญหาก็เริ่มเข้ามาทักทาย ยิ่งถ้าเป็นโค้งมากๆ ปัญหาก็ยิ่งซับซ้อนและท้าทายแก้ไขได้ยากมากยิ่งขึ้นลองติดตามดู

 

  

สายพานโค้ง PVC (Curve Conveyor Belt) ตรวจดูกันหน่อย

 

            ที่เกริ่นมาให้ท่านรับทราบนั้นมิได้หมายความว่าระบบสายพานลำเลียงประเภท  Lightweight หรือที่เราเรียกกันว่า สายพาน PVC หรือ PU ใช้งานได้ไม่ดีหรือไม่เหมาะสมนะครับ ใช้ได้ครับแต่จะมีปัญหาก็คือเมื่อใช้งานไปแล้วระยะหนึ่งเมื่อต้องการเปลี่ยนสายพานหรืออุปกรณ์อย่างอื่น แต่ไม่สามารถหาอะไหล่ได้เหมือน Spec เดิมๆ ปัญหาก็จะเกิด ตัวอย่างเช่นท่านที่เคยใช้สายพาน PVC โค้ง (Curve Conveyor Belt)ที่ผลิตจากต่างประเทศก็จะพบว่าไม่เกิดปัญหามากมายนัก เพราะตั้งแต่ตัวโครงสร้างอุปกรณ์ยันสายพาน ที่ติดตั้งมาใหม่กับเครื่องจักรจากโรงงานที่มีมาตรฐานมักมี ความละเอียด  ( Precision ) สูง แม้แต่ตัว สายพานโค้ง PVC (Curve Conveyor Belt ) ยังต้องใช้เครื่อง CNC ตัดให้สายพานเข้ารูปโค้งอย่างแม่นยำ  เพื่อสายพานจะโอบลูกกลิ้งได้เต็มหน้าตัดทำให้มีแรงเสียดทานมากเพียงพอที่จะขับสายพานให้เคลื่อนที่และป้องกันไม่ให้สายพานเกิดการบิดตัวหรือการเสียรูปขณะทำงาน เมื่อท่านต้องการเปลี่ยนสายพานเส้นใหม่ ก็ต้องให้ Supplier รายใหม่ในประเทศจัดหาสายพานให้ ท่านก็ต้องเอาสายพานเส้นเก่าไปให้ Supplier เขาวัดขนาดเพื่อจะตัดสายพานเข้าให้รูปโค้งเหมือนอย่างของเดิมๆที่ติดมากับเครื่อง แต่ตัวอย่างที่ให้ไปก็เป็นตัวอย่างที่สายพานยืดไปแล้วระยะก็ผิดเพี้ยนไม่เหมือนของเดิมแน่นอน งานนี้ก็เริ่มกลัดกระดุมผิดตั้งแต่เม็ดแรกแล้ว คงไม่ต้องพูดถึงผลที่จะตามมาว่างานเข้าเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะคิดในเชิงบวกเต็มที่ สมมุติว่าท่านให้ตัวอย่างระยะสายพานโค้ง (Curve Conveyor Belt) กับ Supplierเหมือนของเดิมทุกประการ Supplier ก็จะวัด-ตัดสายพานโดยไม้บรรทัดวัด กับ ใช้มีด คัตเตอร์(Cutter)ตัด ท่านคงนึกภาพเองได้ว่าการวัด-ตัดตัวสายพานโค้ง (Curve Conveyor)โดยใช้เครื่อง CNC เพื่อให้สายพานเข้ารูปโค้งอย่างแม่นยำกับใช้ไม้บรรทัด-มีดคัตเตอร์(Cutter)ตัดมันมีความละเอียดต่างกันขนาดไหน สรุปแล้วปัญหาเรื่องขนาดพอดีของสายพานก็ยังมีอยู่ดี นี่ยังไม่พูดถึงฝีมือการต่อ(Splice)สายพานว่าได้เรื่องหรือไม่ ถ้าวัดระยะและตัดขนาดสายพานได้ถูกต้องแต่ต่อ(Splice)สายพานไม่เอาไหน ผลรวมก็คือไม่เอาไหนนั่นเอง  ฟังๆแล้วดูเหมือนว่าห่อเหี่ยว ไม่มีทางออกที่ดีหรืออย่างไรกัน อย่าเพิ่งสิ้นหวังครับ วันนี้ บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด มีนวัตกรรมใหม่(Innovative Product) เป็นเรื่องใหม่จริงๆ เพราะระบบที่กำลังนำมานำเสนอเพื่อเป็นคำตอบกับปัญหาเหล่านี้ เพิ่งจะพัฒนามาได้เพียงไม่กี่ปีนี้เอง เท่าที่ทราบ ที่บ้านเราน่าจะยังไม่มีผู้ใช้งานหรือยังไม่มีใครรู้มากนักครับ อย่างไรก็ตามอย่าเพิ่งเชื่อทั้งหมดนะครับ ลองอ่านแล้วค่อยๆพิจารณาต่อไป อ่านแล้วชอบหาคำตอบด้วยตัวท่านเอง

 

  

ปัญหาเรื่องการผลิตขนาดพอดีของสายพานหลังใช้งาน

 

2.ปัญหาพื้นฐานของ สายพาน PVC หรือ PU

    ท่านที่เคยใช้งานระบบสายพานลำเลียงประเภท  Lightweight หรือที่เราเรียกกันว่า สายพาน PVC หรือ PUคงมีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับปัญหาที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นอย่างดี แต่บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัดก็ขอนำมากล่าวซ้ำเพื่อความเข้าใจของท่านอื่นที่อาจจะยังไม่มีประสบการณ์บังเอิญเข้ามา website ของเราจะได้มีความเข้าใจและได้ประโยชน์ไปพร้อมๆกัน

1.ปัญหาเกี่ยวกับ การ Slide ของสายพาน PVC/PU

2.ปัญหาเกี่ยวกับ การ Slip ของสายพาน PVC/PU

3.ปัญหาเกี่ยวกับ การ ยืด-หด ตัวของสายพาน PVC/PU

4.ปัญหาเกี่ยวกับอายุการใช้งานสั้น ของสายพาน PVC/PU

5.ปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของสายพานโค้ง (Curve Conveyor) PVC/PU

 

3.  Modular Belt คือ Generation ใหม่และเป็นคำตอบของระบบสายพานลำเลียง

 3.1ปัญหาเกี่ยวกับ การ Slide ของสายพาน PVC เกิดจากหลายสาเหตุแต่สาเหตุหลักคือ การ Load ของผิดวิธี การ Load ของไม่สมดุล และความสกปรกของระบบที่การขาดการบำรุงรักษาทำให้มีวัสดุเกาะสายพานส่งผลให้แรงเสียดทานระหว่างสายพานกับลูกกลิ้งไม่สม่ำเสมอ สายพานจึงวิ่งส่ายไป-มา ต้องคอยปรับแล้วปรับอีกตลอดเวลา

ทำไมต้องเป็นสายพาน Modular สายพาน Modular มีการทำงานแบบ Positive Drive (Tension ต่ำ) ขับแบบโซ่จักรยานโดยฟันของ Sprocket จะเกี่ยวเข้าไปในรูของตัวสายพานModularจึงไม่เกิดการสไลด์ (Slide) หรือ Slip เหมือนอย่างที่เกิดใน สายพาน PVC แบบFlat Belt ที่อาศัย Friction ระหว่างสายพานกับลูกกลิ้งเป็นตัวขับเคลื่อนระบบ ดังนั้นสายพาน Modular Beltจะวิ่งตรงแนวตลอดอายุการใช้งาน ปราศจากปัญหาสายพาน Slip หรือ Slide แล้วขอบสายพานชำรุด Positive Driveฟันของ Sprocket เกี่ยวเข้าไปในรูของตัวสายพานModular

 3.2ปัญหาเกี่ยวกับ การ Slip ของสายพาน PVC เกิดจากแรงเสียดทานระหว่างสายพานกับลูกกลิ้งไม่เพียงพอ เนื่องจากลูกกลิ้งไม่ได้หุ้มยาง มุมโอบน้อยไป สายพานหย่อน ไม่มีTake Up และความสกปรกของระบบตลอดจนขาดการบำรุงรักษาทำให้มีวัสดุเกาะสายพานส่งผลให้แรงเสียดทานระหว่างสายพานกับลูกกลิ้งน้อยลง หรือสายพานยืดมากเกินไป สายพานจึงหมุนฟรี เกิดการ Slipเพราะสายพาน PVC แบบFlat Belt ต้องอาศัย Friction เป็นตัวขับเคลื่อนระบบ การแก้ไขอาจใช้วิธี ปรับ Take up เป็นครั้งๆไปก็พอช่วยได้บ้าง แต่หากมีทางเลือกที่ดีกว่าทำไมไม่ลองพิจารณาดูเล่า?

            ทำไมต้องเป็นสายพาน Modular สายพาน Modular มีการทำงานแบบ Positive Drive (Tension ต่ำ) ตัวขับเป็นแบบโซ่จักรยานโดยฟันของ Sprocket จะเกี่ยวเข้าไปในรูของตัวสายพานModularจึงไม่เกิดการสไลด์ (Slide) หรือ Slip ปกติ Modular Belt ไม่ต้องมีชุดปรับความตึง (Take Up) เนื่องจาก Modular Belt อาศัยแรงตึงของสายพาน โดยน้ำหนักของสายพานในด้านReturn จะเป็นตัวเก็บสายพานในส่วนที่เกิน (ทำหน้าที่คล้ายๆตัวปรับความตึงอัตโนมัติ)

 

น้ำหนักของสายพานด้าน Return ทำหน้าที่เป็นตัวปรับความตึงอัตโนมัติ

 

 3.3ปัญหาเกี่ยวกับ การ ยืด-หด ตัวของสายพาน PVC/PU เนื่องจากความการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิทำให้สายพาน Slip และSlide เนื่องจากแรงดึงในสายพานไม่สม่ำเสมอ

ทำไมต้องเป็นสายพาน Modular สายพาน Modular มีการทำงานแบบ Positive Drive (Tension ต่ำ) ดังที่กล่าวมาแล้ว แรงดึงในสายพานจึงสม่ำเสมอ สามารถลำเลียงวัสดุได้ตั้งแต่อุณหภูมิ -60 to 250 Celsius จึงสามารถใช้งานได้ทั้งงานที่มีอุณหภูมิต่ำและสูง เช่นการลำเลียงสินค้าเย็นจัดเพื่อการละลายน้ำแข็งหรืองานลำเลียงวัสดุร้อนๆเพื่อลดอุณหภูมิจากร้อน-ให้เย็นลง ระหว่างการลำเลียงก็ทำได้

 3.4 ปัญหาเกี่ยวกับอายุการใช้งานสั้น ของสายพาน PVC/PU  สายพาน Modular มีโครงสร้างกะทัดรัด มีขนาดเล็กกว่าสายพาน PVC/PU การขับด้วยเฟือง (Sprocket) เกี่ยวกับร่องหรือข้อพับ (Hinge) ของสายพานจึงทำให้แรงดึงในระบบน้อยกว่าการขับระบบสายพาน PVC เรียบแบบทั่วไป การที่โครงสร้างมีขนาดเล็กและแรงดึงต่ำทำให้ bearing มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า โดยปกติแล้วสายพานModular จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าสายพาน เรียบแบบ PU/PVC ประมาณ 6-10 เท่าแล้วแต่ชนิดและการใช้งานของApplication

 3.5 ปัญหาเกี่ยวกับ การรับน้ำหนักของสายพาน PVC/PU ที่มีจำกัดรับน้ำหนักได้น้อย สายพาน Modular Belt มีความทนทานสูง ในรุ่น Heavy Duty สามารถลำเลียงวัสดุได้ถึง 1.5 Ton/Square. Meter จึงสามารถลำเลียงวัสดุหนักได้อย่างสบายๆเช่น ระบบสายการผลิตรถยนต์ ลำเลียงกระดาษ เป็นต้น

 3.6 ปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของสายพานโค้ง (Curve Conveyor Belt) PVC/PU ดังได้กล่าวแล้วในความเป็นมาของปัญหา ว่าการทำงานของสายพานลำเลียง PVC ในแนวตรง(Straight Line)สำหรับการลำเลียงวัสดุทั่วๆไป  ปัญหามีเพียงเล็กน้อยซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานคือสายพานเดินไม่ตรงแนว (Misalignment) ซึ่งก็ปรับแก้กันได้ไม่ยากเย็นแต่ประการใด แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ Lineการผลิตต้องมีระบบลำเลียงเป็นแนวโค้ง(Curve Conveyor) มาเกี่ยวข้อง ปัญหาก็เริ่มเข้ามาทักทาย ยิ่งถ้าเป็นโค้งมากๆ ปัญหาก็ยิ่งซับซ้อนและท้าทายแก้ไขได้ยากมากยิ่งขึ้น เพราะลำเลียงเป็นแนวโค้ง(Curve Conveyor) นั้นต้องใช้แรงขับมากกว่าการลำเลียงเป็นแนวตรง(Straight Line)หลายเท่า นั่นหมายความว่า สายพาน PVC ต้องโอบลูกกลิ้ง(ที่มีลักษณะเป็น Taper คือจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เท่ากันทั้งความยาว)ให้แน่นขึ้นเป็นหลายเท่าเช่นกัน จะเป็นเช่นนั้นได้สายพานต้องตัดให้มีความละเอียดสูงมากเพื่อให้เข้ารูปโค้งอย่างแม่นยำพอดี  สายพานจึงจะโอบลูกกลิ้งได้เต็มหน้าตัดสายพานเพื่อให้มีแรงเสียดทานมากเพียงพอที่จะทำให้สายพานเคลื่อนที่และป้องกันไม่ให้เกิดการบิดตัวหรือการเสียรูปของสายพานขณะทำงาน ถามว่าทำได้หรือไม่? ถ้าทำได้ปัญหาก็น้อย ถ้าทำแย่ปัญหาก็เพิ่มขึ้นแล้วแต่ว่าจะแย่มาก-น้อยแค่ไหน ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ยังไม่ได้กล่าวถึงเลยว่าหากเลือกชนิดของสายพานไม่เหมาะสมกับ Application จะมีปัญหาใดตามมาให้แก้ไขอีก

 

สายพานบิดตัว-เสียรูป

 

4.นำเสนอ Modular Belt คือ Generation ใหม่และเป็นคำตอบของระบบสายพานลำเลียง

 สายพาน Modular ลำเลียงในแนวตรง (Straight Line) ได้ดีอย่างไรจะไม่กล่าวถึงในบทความนี้ อย่างไรก็ดีความได้เปรียบของสายพาน Modular ที่ดีกว่าสายพาน PVC/PU อย่างเด่นชัด คือ สายพาน Modular สามารถวิ่งในแนวราบโค้งได้ (Horizontal Curve) อย่างต่อเนื่องโดยใช้สายพานแค่เส้นเดียว ขณะที่สายพาน PVC/PU ต้องใช้ระบบสายพานหลายเส้นต่อกันเมื่อต้องการเปลี่ยนทิศทางที่ลำเลียง ข้อดีของการลำเลียงต่อเนื่องคือทำให้ วัสดุไม่ล้ม ไม่เสียหาย ประหยัดทั้งพลังงานและพื้นที่ ลดจุดเชื่อมต่อ

 

สายพาน Modular ลำเลียงในแนวตรง (Straight Line)

 

สายพาน Modular ลำเลียงต่อเนื่องในแนวโค้ง (Curve Line) ใช้มอเตอร์ขับเพียงตัวเดียว

 

5. สายพาน Modular ที่เป็น Generation ใหม่ของสายพานโค้ง (Curve Conveyor Belt)

 

สายพานโค้ง (Curve Conveyor Belt) Modular

 

ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า สายพาน Modular มีการทำงานแบบ Positive Drive (Tension ต่ำ) เป็นการขับแบบโซ่จักรยานโดยฟันของ Sprocket จะเกี่ยวเข้าไปในรูของตัวสายพานModularจึงไม่เกิดการสไลด์ (Slide) หรือ Slip เหมือนอย่างที่เกิดใน สายพาน PVC แบบFlat Belt ที่อาศัย Friction (Tension สูง) เป็นตัวขับเคลื่อนระบบ ดังนั้นสายพาน Modular Belt จะวิ่งตรงแนวตลอดอายุการใช้งาน ปราศจากปัญหาสายพาน Slide แล้วขอบสายพานชำรุด ลองมาดูว่า สายพาน Modular แบบสายพานโค้ง (Curve Conveyor Belt) ทำงานได้อย่างไร?

 

   

Sprocket จะมีหลายตัวบนแกนเพลา (Shaft) เดียวกัน

 

จากรูปจะเห็นว่า Sprocketจะมีหลายตัวบนแกนเพลา(Shaft) เดียวกัน แต่ละตัวก็จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง(Diameter)หลายขนาดแตกต่างกันไปตามรัศมีความโค้งของสายพานทั้งนี้ก็เพราะรัศมีความโค้งของสายพานในช่วงด้านในจะมีค่าน้อยและจะค่อยๆมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อมีรัศมีความโค้งของสายพานมากขึ้น Sprocket จึงต้องปรับขนาดให้สอดคล้องกับรัศมีความโค้งของสายพาน นี่ก็เป็นจุดหนึ่งที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ส่วนฟันของ Sprocket จะเกี่ยวเข้าไปในรูของตัวสายพานModular ขับเคลื่อนสายพานได้อย่างมั่นคงปราศจากการสไลด์(Slide) หรือ Slip อย่างแน่นอนตัดปัญหาเรื่องเหล่านี้ไปได้เลย ยังมีข้อดีของสายพานModular ขอยกตัวอย่างมาเพียงบางข้อก็แล้วกัน

  •  Easy Installation การประกอบติดตั้งง่าย ต่อ(Splice) รวดเร็วกว่าระบบสายพาน PVC /PUโดยทั่วไปเพราะไม่ต้องใช้เตาต่อสายพาน สามารถใช้ค้อนและคีมก็สามารถต่อสายพานได้อย่างรวดเร็วใช้งานได้ทันทีไม่ต้องปรับAlignment หลังการต่อสายพาน

 

  •  Easy Maintenance ระบบสายพาน Modular Belt สามารถทำการซ่อมบำรุงได้ง่ายหากเกิดการชำรุดเสียหายเพราะสามารถเปลี่ยนเฉพาะในช่วงที่สายพานเสียหายเท่านั้นโดยการถอดเปลี่ยนสลัก (Rod) คล้ายกับการต่อตัวLEGOใช้เครื่องมือง่ายๆเพียงคีม ค้อน เท่านั้นก็เพียงพอ

  •  Reduce down Time สายพาน Modular จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าสายพาน เรียบแบบ PU/PVC ประมาณ6-10 เท่า หากเสียหายก็ซ่อมบำรุงง่ายและรวดเร็วจึงทำให้โอการที่ระบบจะหยุดการทำงานนานๆนั้นน้อยลงไปด้วย

 

  1.  Specification ของ Generation ใหม่สายพาน Modular Belt คือคำตอบของระบบสายพานลำเลียง

จะกล่าวว่าสายพาน Modularมีแต่ข้อดีๆไปเสียทั้งหมดมันก็จะขัดกับความเป็นจริงไป แท้จริงแล้ว สายพาน Modular ยังมีข้อจำกัดบางประการที่ยังเป็นที่กังกลของผู้ใช้ โดยเฉพะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหารที่ต้องการความสะอาดแบบสุดขีด เช่น การเข้าถึงเพื่อทำความสะอาดในบาง Model บางจุดที่ยังทำได้ไม่ดีมากแบบสุดๆ (เพราะมีจุดซ่อนเร้นตรงสลักยึด) รวมถึงข้อจำกัดในด้าน ความเร็วที่ทำได้ไม่สูงเท่าสายพาน PVC  เสียงดังในบาง Model  งานลำเลียงอุณหภูมิสูงๆ หรือลำเลียงวัสดุที่เป็นฝุ่นผง เป็นต้น อ้อ เกือบลืมบอกไปเรื่องสำคัญ ราคาก็สูงกว่าสายพาน PVC/PU  ด้วยครับ ทั้งนี้ผู้ใช้งานต้องเป็นผู้ประเมินความคุ้มค่าด้วยตนเอง

ท้ายที่สุด อย่าเพิ่งเชื่อทั้งหมดนะครับ ลองอ่านแล้วค่อยๆพิจารณา ไม่เข้าใจ สอบถามบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด (Conveyor Guide Co.Ltd.) เอาจนหมดข้อสงสัย จะสิ้นปุจฉาก็ต้องลองเอาไปใช้งานดู ก็จะรู้จริง  สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น “อ่านแล้วชอบหาคำตอบด้วยตัวท่านเองครับ”